การพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

ศิราณี ฤทธิเดช, กานต์ เนตรกลาง

Abstract


การพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน หรือครูที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำนวน 123 คน และแบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.879 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที พบว่า 1) การพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น รองลงมา ได้แก่  ด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนลดลง  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม 2) การเปรียบเทียบการพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น แตกต่างกันตามขนาดโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4  โดย ผู้บริหาร ครูและ นักเรียน จะต้องมีการปฏิบัติตามแผนงานตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน และสร้างกลไกในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม มีการวัดผลและประเมินผลประเมินกำกับนิเทศ ติดตาม ผู้บริหาร ครู นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนมาปรับปรุง และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนให้เกิดผลที่ยังยืนในปีการศึกษาต่อไป นอกจากนั้น โรงเรียนต้องมีการวางแผนทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายคือ PLC มีกลไกการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้บริหารสร้างแรงจูงใจ กระตุ้นและเชื่อมโยงการทำงานของทุกฝ่ายให้บรรลุตามแผนที่กำหนด และประเมินติดตามตัวชี้วัดโรงเรียนคุณธรรม มีการทบทวนวิเคราะห์หลังประเมินงาน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**