ทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการขายสินค้าบริโภคโดยใช้ระบบออนไลน์

สุปราณี ปาวิลัย, อังคณา อาดำ, จุฑามาศ ทองเหม

Abstract


งานวิจัยเรื่อง “ทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ที่มีต่อการขายสินค้าบริโภคโดยใช้ระบบออนไลน์” เป็นการวิจัยหาทัศนคติของผู้บริโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการขายสินค้าบริโภคโดยผ่านระบบออนไลน์ เป็นการเลือกศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่อยู่บนระบบออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถามประเภทออนไลน์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ที่เคยซื้อสินค้าบริโภคในเขตกรุงเทพมหานครผ่านระบบออนไลน์ อายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ สถิติเชิงพรรณาที่ใช้การหาค่าความสัมพันธ์เฉลี่ยและร้อยละพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีเพศชาย ร้อยละ 23.0 เพศหญิงร้อยละ  77.0 ทัศนคติด้านความรู้ มีการรับรู้ที่มีต่อการขายสินค้าบริโภคโดยผ่านระบบออนไลน์ขายอาหารสำเร็จรูปแบบทำเสร็จแล้วพร้อมทาน จะได้รับความสนใจและสั่งซื้อร้อยละ 35.0 มีการใช้ Application การขายสินค้าออนไลน์คือ Grab Food/7-Eleven ร้อยละ 39.8 การชำระผ่านบัตรเครดิต/E-wallet ร้อยละ 45.2 เลือกการจัดส่งผ่านระบบขนส่งร้อยละ 31.8 ทัศนคติด้านความคิดเห็น ส่วนมากมีความคิดเห็นว่าไม่เพียงพอ ร้อยละ 81.3 การเพิ่มความหลากหลายของสินค้าบริโภค ร้อยละ 97.0 มีข้อมูลที่ควรโฆษณาการจัดส่ง ร้อยละ 36.0 เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าบริโภคผ่านระบบออนไลน์ สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาเดินทาง  ร้อยละ 43.0 ทัศนคติด้านความรู้สึกพบว่า มีความรู้สึกไม่แน่ใจ ต่อการซื้อสินค้าบริโภคออนไลน์ในเรื่อง สินค้าได้ครบตามที่สั่ง  ความปลอดภัยในการชำระเงิน และไม่เห็นด้วยในเรื่อง ส่งข้อมูลได้รวดเร็วครบถ้วน  สะดวก สบาย ทัศนคติด้านพฤติกรรมพบว่านิยมซื้ออาหารทำเสร็จแล้วพร้อมทาน คิดเป็นร้อยละ 39.3 ใช้Application Grab Food/7-Elevenในการซื้อสินค้าร้อยละ 75.0 ซื้อสินค้าบริโภคในช่วงเวลาไม่แน่นอน คิดเป็นร้อยละ 48.0 ความถี่ในการซื้อสินค้าบริโภค จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ปัญหาที่เกิดกับการขายสินค้าบริโภคผ่านระบบออนไลน์ ส่วนมาก มีสินค้ามีให้เลือกน้อย หน้าร้านออนไลน์ปิดบริการ กระบวนการสั่งซื้อที่ยุ่งยาก  ผู้วิจัยได้เสนอแนะ1.ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาถึงการเปรียบเทียบหาความเหมือนและความแตกต่างของการซื้อ-ขาย ก่อนและหลัง 2.ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาการถึงการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการด้านการซื้อ-ขายที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ 3. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรทำการศึกษาในด้านเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่ตรงกับความต้องการใช้งาน และการสนับสนุนของธุรกิจ


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**