การตรวจหาเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะในประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Abstract
อาร์โบไวรัส (Arbovirus) เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีแมลงหรือยุงเป็นพาหะ ไวรัสส่วนใหญ่ที่พบคือ ไวรัสเดงกี (dengue virus) ไวรัสชิคุนกุนยา (chikungunya virus) และไวรัสซิกา (Zika virus) ในทุกๆ ปีจะมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก และพบการแพร่กระจายมากกว่า 120 ประเทศ อาการทั่วไปทางคลินิกของโรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน เช่น ไข้ ผื่น และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยพบว่า มีอัตราความชุกของโรคค่อนข้างสูงในทุกๆ ปี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกของการติดเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไวรัสซิกา และเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล และศึกษาอัตราความชุกของการติดเชื้อแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการระหว่างการติดเชื้อภายในบ้าน และภายนอกบ้าน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีการรวมตัวอย่างทดสอบ (Pool serum) โดยนำตัวอย่างซีรั่มปริมาตร 30 ไมโครลิตร ผสมรวมกันจำนวน 7 ตัวอย่างใน 1 หลอด จากนั้นนำมาสกัดสารพันธุกรรมด้วยวิธี magnetic bead จากนั้นนำมาตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Multiplex Real-time RT-PCR ผลการทดลองพบว่าจำนวนตัวอย่างที่ถูกผสมทั้งหมด ไม่สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสได้ทั้ง 3 ชนิด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเกิดการเสื่อมสภาพเนื่องจากไม่ได้ใช้ตัวอย่างที่เก็บใหม่ รวมถึงความเข้มข้นของตัวอย่างที่ถูกเจือจางไป ส่งผลให้ไม่สามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสด้วยชุดตรวจ อย่างไรก็ตามอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปริมาณของเชื้อไวรัสเริ่มต้นในตัวอย่างซีรั่มผู้ป่วย หรือโอกาสในการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ที่ขึ้นอยู่กับระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ (limit of detection) ของชุดทดสอบด้วย
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**