สถานภาพของสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ที่อยู่ในความครอบครองของประชาชน ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2560

สัครินทธ์ อ้นประวัติ, รองลาภ สุขมาสรวง, ประทีป ด้วงแค

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ที่อยู่ในความครอบครองของประชาชน ซึ่งมีการแจ้งขึ้นทะเบียนไว้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2560 และการกระจายการครอบครองและมูลค่าของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลมาคำนวณจำนวนชนิด จำนวนสัตว์ป่า ผู้แจ้งขึ้นทะเบียน และกลุ่มของสัตว์ป่า รวมถึงจำแนกเป็นรายปีและภูมิภาค และใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยและนำข้อมูลไปใช้วางแผนและกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนต่อไป โดยผลการศึกษาพบว่า มีประชาชน 1,996 ราย แจ้งขึ้นทะเบียนสัตว์ป่า 44 ชนิด จากที่อนุญาตให้เพาะเลี้ยง 52 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม 7 ชนิด นก 34 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน 3 ชนิด รวมทั้งสิ้น 43,376 ตัว เฉลี่ยปีละ 4,338 ตัว และมีมูลค่ารวม 32,989,825 บาท โดยนกมีการแจ้งมากที่สุด 27,735 ตัว (63.94%) มีมูลค่า 16,671,625 บาท รองลงมาเป็นสัตว์เลื้อยคลาน 14,954 ตัว (34.48%) มีมูลค่า 6,998,600 บาท และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 687 ตัว (1.58%) มีมูลค่า 9,319,600 บาท โดยภาคเหนือมีการแจ้งมากที่สุด 14,600 ตัว (33.66%) ส่วนภาคตะวันออกมีการแจ้ง น้อยที่สุด 1,790 ตัว (4.13%) และพบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนชนิดสัตว์ป่า จำนวนสัตว์ป่า จำนวนผู้แจ้งขึ้นทะเบียน และจำนวนกลุ่มของสัตว์ป่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**