ประสิทธิผล และความปลอดภัยของแผ่นมาส์กไบโอเซลลูโลสชุบด้วยสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนัง เพื่อการดูแลบาดแผลหลังการรักษาด้วยเลเซอร์แฟรกชันนอลเออร์เบียม 1550 นาโนเมตร
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลด้านการหายของบาดแผลของมาส์กไบโอเซลลูโลสที่มีส่วนประกอบของ EGF ในการรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น ภายหลังการทำเลเซอร์แฟรกชันนอลเออร์เบียม 1550 นาโนเมตร โดยศึกษาในอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีการเสื่อมของสภาพผิวจากการทำลายของแสงแดดในระดับเล็กน้อย หรือปานกลาง (Glogau’s classification ระดับ 1 หรือ 2) จำนวน 20 คน ได้รับการทำเลเซอร์แฟรกชันนอลเออร์เบียม 1550 นาโนเมตร บริเวณใบหน้า หลังจากนั้นทำการสุ่ม เพื่อกำหนดว่าใบหน้าด้านใดจะได้รับการรักษาด้วยมาส์กไบโอเซลลูโลสที่มีส่วนประกอบของ EGF หรือแผ่นมาส์กหน้าหลอก โดยมีการประเมินผลการรักษาทางคลินิก จากการวัดค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนังด้วยเครื่อง Tewameter TM 300® วัดความเข้มและความแดงของผิวด้วยเครื่อง Mexameter MX18® วัดความชุ่มชื้นด้วยเครื่อง Corneometer MPA 580® และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ติดตามผลการรักษาหลังการทำเลเซอร์ทันที และสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 รวมทั้งหมด 5 นัด จากงานวิจัยพบว่าในกลุ่มที่ได้รับมาส์กไบโอเซลลูโลสที่มีส่วนประกอบของ EGF มีค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง ค่าความแดงของผิว และค่าความเข้มของผิวลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับมาส์กหน้าหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 หลังทำเลเซอร์ โดยมีค่า p value = 0.0350, 0.0350 และ 0.0043 ตามลำดับ สรุปได้ว่ามาส์กไบโอเซลลูโลสที่มีส่วนประกอบของ EGF มีประสิทธิผลในการลดค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง ค่าความแดงของผิว และค่าความเข้มของผิว อีกทั้งยังเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับมาส์กหน้าหลอก ดังนั้นการใช้มาส์กไบโอเซลลูโลสที่มีส่วนประกอบของ EGF สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้นภายหลังการทำเลเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**