ประสิทธิภาพของเทคนิคการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอเข้าในชั้นผิวหนัง ในการรักษาฝ้าชนิดลึกและชนิดผสม

ทรงศักดิ์ สุขสันติลาภ, เทพ เฉลิมชัย, อานนท์ ไพจิตโรจนา

Abstract


โรคฝ้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและรักษายากในคนไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาฝ้าโดยการประเมินจากคะแนน Hemi-modified Melasma Area and Severity (H-mMASI) ด้วยเทคนิคการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอโดยใช้ abobotulinum toxin A เข้าในชั้นผิวหนังเทียบกับใบหน้าด้านที่ไม่ได้รับการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอ อาสาสมัครทั้งหมด 12 คน ที่มีรอยโรคฝ้าชนิดลึกและชนิดผสมที่บริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้างเท่า ๆ กันได้รับการสุ่มให้ใบหน้าด้านหนึ่งได้รับการฉีดโบทูลินัมทอกซินเข้าในชั้นผิวหนังบริเวณรอยโรคฝ้า ส่วนอีกด้านไม่ได้รับการรักษา และนัดมาติดตามอาการที่ 2, 4, 8 และ 12 สัปดาห์ ประเมินค่า H-mMASI จากภาพถ่าย ประเมินระดับความเข้มของเม็ดสีเมลานิน (Mexameter Melanin Index) ด้วยเครื่อง Mexameter ® รุ่น MX18 ประเมินความพึงพอใจโดยแพทย์และอาสาสมัคร และผลข้างเคียง พบว่าค่า H-mMASI มีค่าลดลง ที่ 2, 4, 8 และ 12 สัปดาห์เมื่อเทียบกับ baseline ในกลุ่มที่ได้รับการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอ แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.447) ค่าเฉลี่ยของ Mexameter Melanin Index (MMI) ลดลงอย่างต่อเนื่องและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษาในกลุ่มที่ได้รับการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอ (p = 0.014) ความพึงพอใจของอาสาสมัครสูงกว่าด้านที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) แต่มีผลข้างเคียงคืออาการเจ็บ และการไม่สมมาตรของใบหน้าในบางราย ซึ่งสามารถหายกลับมาได้เองโดยสมบูรณ์ สรุป การรักษาฝ้าด้วยเทคนิคการฉีดโบทูลินัมทอกซินชนิดเอเข้าในผิวหนังมีประสิทธิภาพในการรักษา สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาฝ้าได้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**