ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวน : กรณีศึกษากองบังคับการตำรวจนครบาล 1

จิตรภากร ภักดี, ณิช วงศ์ส่องจ้า, ณรงค์ กุลลนิเทศ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นที่มีต่อการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวน และเพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมที่มีผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวน : กรณีศึกษากองบังคับการตำรวจนครบาล 1

 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานสอบสวนทั้ง 9 สถานีตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 กรุงเทพมหานคร ตามจำนวนที่มีคนครองตำแหน่งพนักงานสอบสวนซึ่งมีทั้งสิ้น จำนวน 122 ราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent Samples t-Test และOne way ANOVA ซึ่งทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พนักงานสอบสวนทั้ง 9 สถานีตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา อันได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับ เพศ  อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นพนักงานสอบสวน ตำแหน่ง ยศ  สังกัดสถานีตำรวจ เป็นต้น ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ในการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาความเชื่อมั่นในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้พนักงานสอบสวนได้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างอิสระ ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้มีประโยชน์ต่อหน่วยงานตำรวจ และสามารถพัฒนางานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายป้องกันและปราบปราม

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**