การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกบุหรี่ ของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกบุหรี่ของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูบบุหรี่กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด อยู่ในระยะลังเลใจ จำนวณ 26 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ มีวิธีดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนวรรณกรรม 2) พัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกบุหรี่ฯ ประกอบด้วย โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกบุหรี่ฯ แผนการสอนโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกบุหรี่ฯ สำหรับผู้วิจัย สื่อที่ใช้ในโปรแกรม และแบบบันทึกในโปรแกรม 3) ทดสอบโปรแกรมกับกลุ่มตัวอย่างและประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกบุหรี่ และแบบสอบถามพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.82 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีคู่
ภายหลังได้รับโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกบุหรี่สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -6.20 และ -9.06 ตามลำดับ, p < .001). และมีผู้ที่สามารถหยุดบุหรี่ได้จำนวน 10 ราย ดังนั้นโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกบุหรี่ฯ สามารถช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่หยุดบุหรี่ได้Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**