ลมปะกังในแนวคิดทฤษฏีแพทย์แผนไทย
Abstract
จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ศึกษาเอกสาร (Document research) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๑.เพื่อศึกษาการรักษาโรคลมปะกังตามคัมภีร์แพทย์แผนไทย ๒.เพื่อศึกษาผลการรักษาโรคลมปะกังจากผู้ป่วยจำนวน ๑๐ ราย พบว่า อาการโรคลมปะกังเป็นโรคที่เกิดจากลมอุทังคมาวาตาพิการทำให้ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ลมปะกังตามตำราแพทย์แผนไทยโบราณ บางครั้งจะมีอาการปวดในช่วงเช้า ปวดกระบอกตา ตาพร่า ตามัว ลมปะกังเป็นโรคลมชนิดหนึ่ง ในกลุ่มลมกองละเอียด “เป็นลมระคนด้วยกำเดา” ตีขึ้นเบื้องสูงถึงศีรษะ ลมปะกังเกิดจากลมร้อนคือลมและกำเดาลมร้อนที่ตีขึ้นเบื้องสูงเกิดเป็นไอร้อนกระจายและเคลื่อนต่ำขึ้นที่สูงศีรษะ เมื่อลมร้อนตีขึ้นศีรษะก็จะหาทางออก ทำให้เกิดอาการหูอื้อ ตาร้อนผ่าว จมูกแห้ง ลิ้นแห้ง แต่ถ้าหากเกิดการติดขัดไม่ออกหรือออกน้อย จะตีกลับไปที่ศีรษะ ทำให้ปวดศีรษะ มึนงง หนักศีรษะ ตาลายวิงเวียน ผะอืดผะอม หากเกิดจากเส้นอิทามักจะเกิดด้านซ้าย หากเกิดจากเส้นปิงคลามักจะเกิดด้านขวาจากข้อมูลผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยส่วนมากอยู่ในกลุ่มธาตุเจ้าเรือนธาตุลม และมีอายุอยู่ในช่วง ๓๔.๖ ปี จัดอยู่ในกลุ่มปัจฉิมวัย มีธาตุสมุฏฐานวาโย ซึ่งสอดคล้องกับคัมภีร์โรคนิทาน ที่กล่าวไว้ว่า ลมปะกังเกิดจากลมกำเดาจะอยู่ในช่วงปัจฉิมวัย อายุ ๓๐ ปี ถึงสิ้นอายุไข ด้วยเป็นวัยที่กำเดากำเริบได้ง่าย จากอายุ อาชีพ อิริยาบถ ความเครียด ไฟเกิดลมเกิด เป็นลมปะกัง วิธีการรักษาโดยการใช้ยาตามคัมภีร์มี๕ วิธีคือ ยานัตถุ์,ยาพอก,ยาสุม,ยากิน,ยาประคบและมีวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาคือการนวดตามเส้นประทาน ๑๐ เส้นอิทาและเส้นปิงคลา การนวดรักษาตามแบบแผนวังสวนสุนันทา
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**