การพัฒนาความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op

พรพิศ งามพงษ์

Abstract


การวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว มีการทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pre-test Post-test Design) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op ของนักศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการสอน แบบวัดความสามารถในการการฟัง จำนวน 1 ฉบับ เป็นการฟังคำศัพท์ สำนวน และบทสนทนาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การบอกทิศทาง และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที  (t-dependent) ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการศึกษา พบว่า

1. ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 65.29 สูงกว่าก่อนเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 51.32 ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในฟังภาษาอังกฤษหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 93.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. ความพึงพอใจในการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Co-Op Co-Op ของนักศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผลการเรียนการสอน ตามลำดับ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**