นวัตกรรมการบริการที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สมยศ งิ้วลาย, บรรดิษฐ พระประทานพร

Abstract


ความสำเร็จ และความมีประสิทธิภาพขององค์การนั้นเกิดจากคุณภาพของบุคลากรเป็นสำคัญ การวิจัยนี้เป็นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนวัตกรรมการบริการ และปัจจัยความผูกพันของพนักงานในองค์กร 2) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันของพนักงานในองค์กร 3) อิทธิพลของนวัตกรรมการบริการที่มีต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรทุกระดับ  จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t -test  One - Way ANOVA และ simple Regression Analysis จากผลการศึกษาวิจัย พบว่า การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามการวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการบริการที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

            เพศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 218 คน คิดเป็นร้อยละ 54.5 และเป็นเพศชายจำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 45.5

            อายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 55.5 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน  131 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 และอายุมากกว่า 50 ปีจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 ตามลำดับ

            ระยะเวลาการทำงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่ 5-10 ปี จำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 50.8 รองลงมามากกว่า 10 ปี จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 36 และระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 1- 4 ปี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8  ตามลำดับ

            ระดับการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 386 คน คิดเป็นร้อยละ 96.5 รองลงมาคือปริญญาตรี จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 0.2 และอนุปริญญา/ปวส. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3 ตามลำดับ

            1. นวัตกรรมการบริการที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2. ผลการทดสอบสมมติฐาน นวัตกรรมการบริการที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร นวัตกรรมด้านสภาพแวดล้อมข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย พบว่า ด้านข้อมูลสารสนเทศ(Information: I) ข้อที่เกี่ยวกับความความผูกพันใน เรื่องลักษณะของงาน ของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันนทา ด้านสารสนเทศในระดับมากที่สุด ได้แก่ บุคลากรที่ให้บริการในกองบริหารงานบุคคลให้ข้อมูลด้านลักษณะการบริการ

3. การเปรียบเทียบความความแตกต่างด้านความปราถนาอย่างแรงกล้าต่อการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำแนกตามประเภทผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA ) ในภาพรวมพบว่า ประเภทผู้ตอบแบบสอบถามแตกต่างกันมีความปราถนาอย่างแรงกล้าต่อการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพบความแตกต่างจึงนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปทำการทดสอบ เป็นรายคู่ เพื่อดูกลุ่มใดมีความความปราถนาอย่างแรงกล้าต่อการดำเนินการแตกต่างกัน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**