ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคลังสินค้ากับการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ซีเอส สตีล โปรดักส์ จำกัด

ประมวล พรมไพร, ฉัตรธาร ลิ้มอุปถัมภ์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การจัดการคลังสินค้า (2) การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคลังสินค้ากับการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพนักงานระดับปฏิบัติงาน ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายจัดส่ง ฝ่ายผลิตและฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ บริษัท ซีเอส สตีล โปรดักส์ จำกัด จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผลทดสอบค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.959 ค่าความเชื่อมั่นของทั้ง 2 ตัวแปรการจัดการคลังสินค้าเท่ากับ 0.893 และการเพิ่มประสิทธิภาพ เท่ากับ 0.831 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยการจัดการคลังสินค้า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านระบบอิเล็กทรอนิคส์ (ระบบ WMS) รองลง คือ มาด้านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ (EDI) ด้านการจัดการพื้นที่ ด้านระบบการควบคุมด้วยสายตา ด้านระบบการรับสินค้าและส่งออกของสินค้า และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการวางแผนผังพื้นที่ในคลังสินค้า ตามลำดับ (2) การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านลดปัญหาการผิดพลาดจากการหยิบสินค้า และ (3) เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า พบว่า การจัดการพื้นที่ ระบบการรับสินค้าและส่งออกของสินค้า ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ (EDI) ระบบการควบคุมด้วยสายตา และการวางแผนผังพื้นที่ในคลังสินค้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและการลดปัญหาการผิดพลาดจากการหยิบสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**