สิ่งอำนวยความสะดวกทางการเงินบนเขตการค้าชายแดน กรณีศึกษา: บริเวณชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

กัณฐาภรณ์ ชวนะสุพิชญ์, อัครนันท์ คิดสม, วุฒิยา สาหร่ายทอง

Abstract


การศึกษาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเงินบนเขตการค้าชายแดน กรณีศึกษา: บริเวณชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายเป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการ เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดทางเลือกในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งตลาดที่เป็นทางการและตลาดที่ไม่เป็นทางการ ตามเขตการค้าชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สำหรับสถิติในการวิเคราะห์ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคพบว่า ประชาชนทั่วไปมีการใช้บริการตลาดที่ไม่เป็นทางการสำหรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศร้อยละ 9.14 ซึ่งส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทางเลือกในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของประชาชนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ ปัจจัยด้านสินค้า และด้านลักษณะทางกายภาพ สำหรับผู้ประกอบการมีการใช้บริการตลาดที่ไม่เป็นทางการสำหรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีร้อยละ 16.58 ซึ่งส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทางเลือกในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ ปัจจัยด้านสินค้า ด้านสถานที่ ด้านการโฆษณา และด้านลักษณะทางกายภาพ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**