การบริหารความขัดแย้ง: ตามหลักคิดพระราชาพึงน้อมพิจารณาแก้ความขัดแย้ง
Abstract
ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องพบเจออยู่เป็นประจำ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นสัตว์สังคมที่มีการอยู่ร่วมกันไม่อาจแยกตัวอยู่เพียงลำพัง เนื่องจากต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอดและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกันจึงมีทั้งความเห็นที่ตรงกันและความเห็นที่แตกต่างกัน การกระทบกระทั่งกันจึงเป็นเรื่องปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ความเห็นที่แตกต่างกันย่อมนำไปสู่ความกินแหนงแคลงใจกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การกระทบกระทั่งกัน เมื่อสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เกิดการขัดแย้งกันโดยการแสดงออกทางวาจาที่หยาบคาย การกระทำที่ก้าวร้าวและประทุษร้ายต่อกัน มักก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้หากผู้บริหารได้นำหลักคิดพระราชาพึงน้อมพิจารณาแก้ความขัดแย้ง มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อปรับเปลี่ยนความขัดแย้งที่เป็นวิกฤตให้กลับมาเป็นโอกาสในการพัฒนาได้ แม้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในองค์กรก็ตาม
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**