การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules)

สตรีรัตน์ แสงวิเชียร, ฐิติยา เพชรมุนี

Abstract


วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีในทัณฑสถานหญิงและเรือนจำที่ควบคุมผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทยให้สอดคล้องตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules)รวมถึงหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อผู้ต้องหญิงในประเทศไทยนั้นขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ เนื่องจากแต่ละเรือนจำหรือทัณฑสถานมีข้อกำจัดที่เหมือนหรือแตกต่างกันออกไปตามบริบทของพื้นที่ โดยสามารถระบุปัญหาจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัญหาด้านสถานที่คับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขัง ส่งผลให้ไม่สามารถแยกคุมขังได้ รวมถึงพื้นที่ไม่มีสัดส่วนในการทำกิจกรรมต่างๆ, งบประมาณไม่เพียงพอ, ระยะเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวไม่เพียงพอ/การไม่มีน้ำใช้, เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ, ขาดเจ้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง, ไม่มีมาตรการทางเลือก เพื่อเลี่ยงผู้กระทำผิดเข้าสู่เรือนจำ, อาหารมีปริมาณน้อย ไม่อร่อย, การเยี่ยมญาติน้อยเกินไป, บริการทางการแพทย์ไม่เพียงพอ อย่างการไม่มีแพทย์ผู้หญิงไม่มีแพทย์อยู่ประจำ รวมถึงไม่มียารักษาโรคเพียงพอ,ผู้ต้องขังมาอยู่ในระยะเวลาสั้น, ผู้ต้องขังต่างด้าว, เงินฝากน้อย, สินค้าที่ขายในเรือนจำมีราคาแพง, ปันผลน้อย, เสื้อผ้าผู้ต้องขังน้อย, ผู้ต้องขังป่วยเป็นโรคเฉพาะ, ระยะเวลารับ-ส่งจดหมายนานเกินไป และผู้ต้องขังไม่ยอมรับการแก้ไข ซึ่งในบางเรือนจำได้ทำตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างครบถ้วน แต่บางเรือนจำไม่สามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด อย่างการใช้ผู้ต้องขังที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการตรวจค้นตัว เป็นต้นดังนั้นอาจสรุปได้ว่าทัณฑสถานและเรือนจำได้ยึดหลักข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) เป็นแม่แบบในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยพยายามที่จะปฏิบัติตามให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ แต่ยังติดที่ข้อจำกัดบางประการจึงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ทั้งหมด ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ควรมีการใช้มาตรการเลี่ยงโทษจำคุก อย่าง การใช้เครื่อง EM, การจำคุกวันหยุดมาใช้กับผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีเป็นการเร่งด่วน เนื่องจากการใช้มาตรการคุมขังมีแต่จะส่งผลกระทบในแง่ลบหลายด้าน, ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในสัดส่วนที่มากขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีน้อยเกินไป ส่งผลให้ควบคุมดูแลผู้ต้องขังได้ไม่ทั่วถึง รวมถึงการเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะประจำเรือนจำ/ทัณฑสถานแต่ละแห่ง, ควรมีหน่วยงานเข้ามาดูแลด้านการศึกษาและการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขัง เนื่องจากผู้ต้องขังบางรายอยู่ในเรือนจำระยะสั้น ทำให้การสอนต่างๆไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร หากสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้แล้วนั้น ย่อมส่งผลดีกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีให้ถูกต้องและเป็นธรรมตามแนวทางของข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ต่อไป

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**