การรับรู้ ความรู้ และการเข้าถึง การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหาย และจำเลยในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย แก่จำเลย ในคดีอาญา พ.ศ. 2544
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้และความรู้ของประชาชน 2)เปรียบเทียบการรับรู้และความรู้ของประชาชนที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน 3)ความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติและความสนใจ กับการรับรู้ของประชาชน 4)ความคิดเห็นของผู้ได้รับความเสียหายและจำเลยจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่น ต่อการเข้าถึงการช่วยเหลือทางการเงิน 5)นำเสนอแนวทางในการส่งเสริม พัฒนา ความรู้ ความเข้าใจของประชาชน และผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติฯ
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเชิงปริมาณผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม เพื่อนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 800 ตัวอย่าง ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อพระราชบัญญัติฯ จำนวน 17 ท่าน ในพื้นที่การศึกษา ซึ่งแบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ภาค 4 จังหวัด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติและในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้พระราชบัญญัติฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนด้านผลการศึกษาในเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความเห็นว่าระดับการรับรู้ ความรู้ของประชาชนตามพระราชบัญญัติฯยังมีการรับรู้ที่น้อย การเปรียบเทียบการรับรู้ ความรู้ของประชาชน ตามพระราชบัญญัติฯ เมื่อจำแนกตามอายุ และสถานภาพ และการศึกษานั้น การรับรู้ของประชาชนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามเพศ และที่อยู่อาศัย พบว่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสัมพันธ์ของทัศนคติ และความสนใจ กับการรับรู้ ของประชาชนที่มีต่อพระราชบัญญัติฯ พบว่า ทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ ด้านความสนใจกับการรับรู้ ของประชาชนที่มีต่อพระราชบัญญัติฯ พบว่า ความสนใจมีความสัมพันธ์กับการรับรู้โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และมีค่าความสัมพันธ์ในระดับน้อย ด้านทัศนคติกับความสนใจ ของประชาชนที่มีต่อพระราชบัญญัติฯ พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความสนใจ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และมีค่าความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างน้อย ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ เข้าถึงการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ หน่วยงานหลักอย่างกระทรวงยุติธรรมควรให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวง ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพขององค์กรภายนอกอื่นภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนควรมีการทำงานประสานงานร่วมกันและพัฒนาให้เกิดเป็นเครือข่ายFull Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**