สภาพและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38

ชัยวัฒน์ บรรลือ, อดุลย์ วังศรีคูณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือโรงเรียนสังกัดในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 จำนวน 47 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 44 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รอง/หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 38 จำนวน  264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย ( )2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าสภาพการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38  โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการดำเนินงานมากที่สุด คือด้านงานทะเบียนนักเรียน ส่วนด้านที่มีการดำเนินงานน้อยที่สุด คือด้านการวิจัยและพัฒนาสถานศึกษา ส่วนแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 มีดังนี้ ด้านการวางแผนงานวิชาการมีการจัดการแต่งตั้ง คณะกรรมการสถานศึกษา พิจารณาจากบุคคลที่มีความเสียสละเวลา ให้กับทางวิชาการ และโรงเรียน มีความรู้ ความตั้งใจ ในระบบการศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีการสร้างความตระหนักให้ครู รู้จัก และเข้าใจนักเรียน แผนการจัดการเรียนการสอน กำหนดให้ชัดเจน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ ทั้งด้านความรู้ แล้วทักษะกระบวนการ ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิธีสอน การใช้เครื่องมือในการวัดผล ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนมีการจัดประชุมผู้ปกครองอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง และกำหนดเป็นนโยบายของโรงเรียนในการวัดผล และประเมินผลการเรียนในแต่ละภาคเรียน ให้ครูผู้สอนทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มสาระ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านงานทะเบียนนักเรียนมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ  นิเทศติดตาม การดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวก ในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่กำหนด ด้านการแนะแนวการศึกษาจัดบริการต่างๆให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม ด้านการวิจัยและพัฒนาสถานศึกษามีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดทำวิจัยของครู ตามความสนใจโดยกำหนดให้ครูผู้สอนแต่ละคนเสนอเค้าโครงวิจัย มาพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณเพื่อทำการวิจัย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**