ความขัดแย้ง : การบริหารความขัดแย้งให้เกิดประโยชน์ในสถานศึกษา

ขวัญชีวา กุกำจัด

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ สามารถขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากบุคลากรเกิดความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน จนไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ด้วยความสำคัญของความขัดแย้ง ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรนำความรู้ หลักการ เทคนิควิธีเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างไรจึงจะเหมาะสม จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสารตำราพบว่าในการบริหารจัดการกับความขัดแย้งนั้นจะต้องนำมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความขัดแย้งว่าเกิดจากสิ่งใด วิเคราะห์หาสาเหตุของความขัดแย้งนั้นให้ได้อย่างไรก็ดี ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการจัดการความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะต้องทำความความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ และเปิดใจให้กว้างพอที่จะแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเริ่มต้นจากการมีทักษะการฟัง (ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ) โดยใช้“สุนทรียสนทนา” เข้ามาช่วย และผู้บริหารก็ควรจะมีคุณลักษณะของการเป็นบุคคลแห่งการสร้างสัมพันธภาพอันได้แก่ 1) การเอาใจเขามาใส่ใจเรา 2) การเคารพนับถือและให้เกียรติมนุษย์ และ 3) ความจริงใจ) รวมไปถึงการนำหลักพรหมวิหาร 4 อันเป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่เป็นผู้ปกครอง (ผู้บังคับบัญชา) และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (ผู้ใต้บังคับบัญชา) มาใช้ในการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษาสามารถสร้างผลการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขกับงานทำงานโดยถือโอกาสของการเกิดความขัดแย้งนั้นให้กลายเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรในสถานศึกษาดีขึ้น และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษา

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**