สวดคฤหัสถ์ : มหรสพในงานศพ
Abstract
บทความนี้ได้รวบรวมการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นสวดคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่งของไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ โดยทำการศึกษาการละเล่นสวดคฤหัสถ์ ในเรื่อง ความหมาย ความเป็นมา พัฒนาการ และองค์ประกอบในการสวดคฤหัสถ์ จากการศึกษาพบว่า การละเล่นสวดคฤหัสถ์ หมายถึงการสวดของฆราวาส ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “คฤหัสถ์” การละเล่นสวดคฤหัสถ์ เป็นมหรสพที่ได้รับอิทธิพลจากพิธีกรรมและความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ในพิธีเกี่ยวกับการตายคือ พิธีสวดพระอภิธรรมศพโดยพระภิกษุสงฆ์ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีหลักฐานปรากฏเด่นชัดในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์คือ กฎหมายตราสามดวง มีการพัฒนาการให้เข้ากับยุคสมัย สังคมและวัฒนธรรม โดยมีการพัฒนาการจากการ “สวดพระ” พัฒนาการมาเป็นการ “สวดคฤหัสถ์” “จำอวด” และ “ละครย่อย” ตามลำดับ การละเล่นชนิดนี้จัดเป็นมหรสพประเภทหนึ่ง มีการเก็บภาษีอากรมหรสพในสมัยรัชกาลที่ 5 การละเล่นสวดคฤหัสถ์มีอิทธิพลต่อการแสดงแขนงต่างๆ ของไทยอีกหลายประเภท เช่น จำอวด ละครย่อย ตลกโขน ละคร และเสภาตลก
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**