ปัจจัยที่ส่งผลให้งานรักษาความปลอดภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ณิชดาภา ทิพรังศรี, ณรงค์ กุลนิเทศ, ณิช วงศ์ส่องจ้า

Abstract


ฝ่ายรักษาความปลอดภัย เป็นหน่วยงานหนึ่งในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มีสมรรถนะสูง               จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยี นิติวิทยาศาสตร์ มาสนับสนุนการทำงานด้านรักษาความปลอดภัย เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงาน

จากอดีต ฝ่ายรักษาความปลอดภัยเน้นการทำงานที่ตัวบุคลากรในการขับเคลื่อนดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น การรักษาความปลอดภัยในอาคารสถานที่ การเข้าออกพื้นที่ของบุคคล งานระบบสารสนเทศเพื่อการรักษาความปลอดภัยเช่น ระบบการลงเวลาเข้าออกงาน  CCTV ตลอดจนการดูแลทรัพย์สินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ซึ่งในบางครั้งการดำเนินงานด้วยระบบเดิมทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา ได้แก่ การตรวจสอบที่ขาดความถูกต้องแม่นยำ ขาดความชัดเจน  พนักงานขาดความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จากการศึกษางานวิจัยพบว่า นิติวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และระบบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในงานรักษาความปลอดภัย  ของฝ่ายรักษาความปลอดภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเข้าออก การลงเวลาเข้างานด้วยระบบ RFID  การพัฒนาระบบกล้องวงจรปิด CCTV ที่หมุนรอบ 360 องศา และสามารถดูได้จากระบบมือถือ ประกอบกับการใช้แนวคิดในเรื่องนวัตกรรมที่ทันสมัยมีการปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ แนวคิดการใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนา ระบบและเทคโนโลยีให้ทันสมัย เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานยุค 4.0 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

          จากกรณีศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น องค์การฝ่ายการบินพลเรือน, บริษัทไทยซีคอม พิทักษ์กิจ จำกัด, ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) , บริษัท Secure Special Guard (Thailand) Co.,Ltd. ซึ่งต่างประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านรักษาความปลอดภัย โดยนำนโยบาย มาตรการของการทำงานด้านรักษาความปลอดภัย มาเป็นปัจจัยหลัก และปรับปรุงพัฒนาให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการนำหลักนิติวิทยาศาสตร์ การใช้ระบบเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันสมัย ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา อันเป็นแนวทางให้แก่องค์กร หรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นำองค์ความรู้ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็น Best Practice มาต่อยอดได้ และปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในงานด้านรักษาความปลอดภัย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**