ความพึงพอใจการใช้ยาปราบชมพูทวีปสมุนไพรไทยในผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น ของโรงพยาบาลปทุมธานี

ณัฐสุดา อ้นทอง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ยาปราบชมพูทวีปของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น ของผู้ป่วยโรงพยาบาลปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) ไม่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ เป็นการใช้แบบสอบถาม เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของการใช้ยาปราบชมพูทวีปในผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้นของโรงพยาบาลปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างโดยการ
คัดเลือกจากเกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น กลุ่ม Moderate disease ได้รับคัดเลือก จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย จากการศึกษาแนวคิดทฤษฏีจากเอกสารตำรา และผลงานวิจัยที­เกี่ยวข้อง มี 1 ชุด คือ แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นการใช้ยาปราบชมพูทวีปในผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้นของโรงพยาบาลปทุมธานี เพื่อวิเคราะห์ร่วมด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 โดยคัดเลือกจากเกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น โดยการเก็บข้อมูล คือการบันทึกข้อมูลความพึงพอใจการใช้ยาปราบชมพูทวีปในผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.40) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านการใช้ยาปราบชมพูทวีป อยู่ในระดับมาก ( = 3.53) รองลงมาด้านการรับรู้ที่ส่งผมต่อสุขภาพ
อยู่ในระดับมาก ( = 3.50) และ ด้านลักษณะและวิธีการใช้ยาปราบชมพูทวีป อยู่ในระดับปานกลาง
( = 3.17) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาผลการใช้ยาปราบชมพูทวีปในผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้นอย่างต่อไป เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของตำรับยา และแนวโน้มของการใช้ยาสมุนไพรไทย ตำรับยาปราบชมพูทวีปต่อไป

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**