ผลการกายบริหารแบบฝึกฤาษีดัดตน ร่วมกับการฝึกเก้าจัตุรัสที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย ของผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก

เชาวดี สิทธิพิทักษ์

Abstract


การวิจัยเรื่องผลการฝึกกายบริหารแบบฤาษีดัดตน ร่วมกับการการฝึกเก้าจัตุรัสที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) เพื่อศึกษาผลการฝึกกายบริหารแบบฤาษีดัดตน ร่วมกับการฝึกเก้าจัตุรัสที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม จำนวน 31 คน ที่ฝึกกายบริหารแบบฤาษีดัดตน ร่วมกับการฝึกเก้าจัตุรัสได้ตามกำหนดสัปดาห์ละ 5 ครั้งในวัน จันทร์-ศุกร์ ฝึกติดต่อกัน 4 สัปดาห์ อาสาสมัคร จำนวน 31 คนเข้ารับการฝึกวันละ 30 นาที ฝึกกายบริหารแบบฤาษีดัดตน 6 ท่า ในเวลา 20 นาที และต่อด้วยการฝึกเก้าจัตุรัส ในเวลา 10 นาที ผู้วิจัยทำการทดสอบ เพื่อประเมินสมรรถภาพทางกาย โดยแบบทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด ของกรมพละศึกษา ดูผลของอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที ในสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ผู้วิจัยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การประเมินสมรรถภาพทางกาย ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ในสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 นำมาวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ย (Mean) หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 4 ของกลุ่มตัวอย่าง แบบ One Group pre-post test ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ (Significant test)

          ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกายของผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ภายหลังการฝึกกายบริหารแบบฤาษีดัดตนร่วมกับการฝึกเก้าจัตุรัส ภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ดีกว่าก่อนการทดลอง อัตราการเต้นของหัวใจ หลังทดสอบจากการวัดครั้งที่ 1 แตกต่างจากการวัดครั้งที่ 2 และการวัดครั้งที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและการวัดอัตราการเต้นของหัวใจครั้งที่ 2 ก็แตกต่างกันกับครั้งที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียว จึงสรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกายโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**