คุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตวายฟาย ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร

ไพบูลย์ ภักดีพินิจ, นราวุธ ขำประสิทธิ์, ธันพัทธ์สร ธรรมโชติเมธิน

Abstract


งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนส่วนประสมการตลาดของผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ตวายฟาย 2) ระดับความคิดเห็นของคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตวายฟาย 3) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นของคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตวายฟาย และ 4) ความแตกต่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นของคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตวายฟาย ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test, F-test (one-way ANOVA) และวิธีผลต่าง LSD กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 16-25 ปี ระดับการศึกษา คือ ปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 2) ส่วนประสมการตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ต Wi-Fi พบว่า ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตวายฟาย สำหรับ Voice/ รับส่งเสียง ใช้อุปกรณ์ Smartphone ประเภทการบริการแบบรายเดือน มีค่าบริการ 501-1,000 บาทต่อเดือน สถานที่ใช้บริการวายฟาย คือ ร้านกาแฟ ชำระค่าบริการผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ/Counter service ได้รับข้อมูลของทีโอทีวายฟายจาก SMS/Website ใช้บริการแบบทีโอทีวายฟายเท่านั้น เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยติดต่อผ่านช่องทาง Call center พนักงานเพียงพอกับการให้บริการ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่สังเกตเห็นอุปกรณ์วายฟาย Access point บรรยากาศบริเวณพื้นที่ให้บริการมีความเหมาะสม ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้งาน 5-30 นาที ความถี่ในการใช้งาน คือ ทุกวัน 3) ความคิดเห็นด้านคุณภาพบริการอินเทอร์เน็ตวายฟาย ของผู้ใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยด้านที่อยู่ในระดับดีมาก คือ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจและด้านการการเข้าถึงจิตใจ ด้านที่อยู่ในระดับดี คือ ด้านสิ่งที่จับต้องได้ ด้านการตอบสนอง และ ด้านความมั่นใจได้ 4) ผลการสมมติฐานที่ 1 พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ของผู้ใช้บริการ มีผลต่อความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการสมมติฐานที่ 2 พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดคือ ค่าบริการต่อเดือน สถานที่ใช้บริการ และช่องทางติดต่อขอรับบริการเมื่อเกิดปัญหา มีผลต่อความคิดเห็นคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตวายฟาย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**