พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานต่างด้าวชาวพม่ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ธรรณปพร หงษ์ทอง, อดิเดช สติวโร, สุเมธ บุญมะยา, วีรธิษณ์ วรินฺโท

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสัมพันธภาพเครือข่ายของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า และ3) การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามพฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) และใช้ทฤษฎีแรงจูงใจของแม็คเคลแลนด์ (McClelland) (1961) ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น และที่อาศัยอยู่มากที่สุดคือในจังหวัดสมุทรสาคร ลักษณะของการเข้ามามีทั้งถูกกฎหมาย (นำเข้าตาม MOU) และลักลอบเข้ามา ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้สุ่มเก็บข้อมูลจากตัวแทนประชากรแรงงานพม่าจำนวน 400 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากว่าเพศหญิง มีช่วงอายุอยู่ในระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงประถมศึกษา เมื่อวิเคราะห์แรงจูงใจของแรงงานพม่า พบว่าพฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธเกี่ยวกับแรงจูงใจ ด้านบุญกิริยาวัตถุ 10 ของแรงงานต่างด้าวชาวพม่ามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.67 ซึ่งหมายถึงมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก และ พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธเกี่ยวกับแรงจูงใจด้านกลุ่มพฤติกรรมนิยมของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.76 ซึ่งหมายถึงมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานพม่านั้นมี 4 ด้านคือ 1) วัฒนธรรมด้านที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อม 2) วัฒนธรรมด้านการบริโภค 3) วัฒนธรรมด้านการดูแลสุขภาพ และ 4) วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**