พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทย

ภาวิดา พาชีรัตน์, วุฒิยา สาหร่ายทอง

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมในการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสการเลือกซื้อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาโดยนำมาบรรยายถึงลักษณะของข้อมูลที่เก็บมาได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ในการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสะท้อนถึงรายละเอียดพฤติกรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้บริโภค เช่น ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดโดยใช้การทดสอบ T-test Independent และการทดสอบ F-test (One-way Analysis of Variance : ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความแตกต่างของข้อมูลที่เป็นอิสระกัน และใช้แบบจำลอง Logistic Model โดยตัวแปรอิสระจะพิจารณาจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายนอก และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความน่าจะเป็นในการซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทย โดยพิจารณาค่า Marginal Effect ที่จะบ่งชี้ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงค่าของระดับคะแนนในตัวแปรอิสระ

จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน เป็นเพศหญิงสัดส่วนร้อยละ 60.7 เพศชายสัดส่วนร้อยละ 39.3 จากข้อมูลทั่วไปมีผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทย ร้อยละ59.5 และไม่เคยซื้อร้อยละ 40.5 โดยใช้การทดสอบ T-test Independent และ F-test (One-way Analysis of Variance : ANOVA) ในลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบกว่า และการทดสอบโดยแบบจำลอง Logistic Model ตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีโอกาศความน่าจะเป็นในการตัดสินใจกาเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลกับพฤติกรรมและโอกาสในการเลือกเสื้อผ้าแบรนด์ รวมถึงเป็นแนวทางสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าและผู้ที่สนใจในธุรกิจประเภทเสื้อผ้าในการวางกลยุทธ์แนวทางดำเนินธุรกิจต่อไป


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**