ประสิทธิภาพของแก้วรูพรุนกลิ่นสมุนไพรในการไล่ยุงรำคาญ Culex quinquefasciatus

ดวงทิพย์ กันฐา, รุ่งทิพย์ มาศเมธาทิพย์, พลัฏฐ์ เลียวกิจสิริ

Abstract


ประสิทธิภาพในการไล่ยุงรำคาญ Culex quinquefasciatus (Diptera: Culicidae) ของแก้วรูพรุนหรือ foam glass ผลิตมาจากเศษแก้วเหลือทิ้งจากการผลิตกระจกแล้วผ่านกระบวนการขึ้นรูปด้วยความร้อนและได้อัดน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงลงไป จำนวน 5 กลิ่นได้แก่ ยูคาลิปตัส ใบกานพลู โหรพา ตะไคร้หอม และส้มที่พื้นที่เปิดโล่งของอาคารเรียนและอาคารกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (31.5 + 2oC, 55–57 % RH) โดยทำการทดสอบในช่วงเวลา 19.00-22.00 น. ของเดือนมิถุนายน 2558 พบว่าหินฟองน้ำกลิ่นส้ม (citrus sinensis) มีระยะเวลาที่ยุงรำคาญตัวแรกเข้ามาเกาะบนร่างกาย (Protection time) สูงสุดคือ 16.5 + 6.5นาที รองลงมาคือกลิ่นใบกานพลู (clove) คือ 16.0 + 8.0 นาที ส่วนกลิ่นยูคาลิปตัส (eucalyptus) , โหระพา (sweet basil) และ ตะไคร้หอม (citronella) คือ 12.5 + 5.5นาที, 8.5 + 0.5 นาที และ 7.5 + 1.5นาที ตามลำดับซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์ในการไล่ยุง (Percent protection, %p) พบว่ากลิ่นใบกานพลู โหระพาและกลิ่นส้มให้เปอร์เซ็นต์ในการไล่ยุงสูงคือ 63.81, 59.70% และ57.84% ตามลำดับ ส่วนกลิ่นยูคาลิปตัสและกลิ่นตะไคร้หอม มีเปอร์เซ็นต์ในการไล่ยุงที่ต่ำกว่าคือ 39% และ 41% ตามลำดับ


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**