การรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

ชินดนัย ศิริสมฤทัย, ปภาภรณ์ ไชยหาญชาญชัย

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเกิดพฤติกรรมการ กลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) แบบวัดครั้งเดียว (One-shot Descriptive Study) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยเก็บข้อมูลกลับกลุ่มตัวอย่างทั้งเพศชาย และเพศหญิง ซึ่งเป็นกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย อายุระหว่าง 17-36 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน โดยมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งใช้การสุ่มแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) และการสุ่มแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) และเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในระดับมาก (M= 3.99) ในส่วนการรับรู้ เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุดว่า การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์เป็นเรื่อง ที่ละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล (M= 4.63) ในส่วนทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย มากที่สุดว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ (M= 4.37) และในส่วนของ ความตั้งใจในการเกิด พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่าง มีแนวโน้มที่จะไม่แสดงพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์อย่างแน่นอนมากที่สุด (M= 4.45) ซึ่งจากผลการวิจัยในข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าการรับรู้ และทัศนคติ มักจะมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใน การเกิดพฤติกรรม

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**