แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลของ กลุ่มเจเนอร์เรชั่น ซี กรณีศึกษา ศูนย์เครื่องจักสาน ชุมชนย่อยที่ 1 อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

จิตรลดา ตรีวรรณกุล, ระพีพร ศรีจำปา

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และการสื่อสารการตลาดดิจิทัลแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น ซี กรณีศึกษา ศูนย์เครื่องจักสาน ชุมชนย่อยที่ 1 อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรีโดยประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น ซี ที่รู้จักศูนย์เครื่องจักสาน ชุมชนย่อยที่ 1 อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ T-test, F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 37-56 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ซึ่งจากการวิจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์อย่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ แตกต่างกัน การรับรู้ข้อมูลไม่แตกต่างกันและปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลแบบผสมผสานส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่น ซี ได้แก่ ด้านการขายโดยพนักงานผ่านการตลาดดิจิทัล ด้านการส่งเสริมการขายผ่านการดิจิทัล ด้านการโฆษณาผ่านการตลาดดิจิทัล ด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านการตลาดดิจิทัล และด้านการตลาดทางผ่านการดิจิทัล

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**