รูปแบบการดำเนินชีวิตของเจเนอเรชั่นแซดในเขตเมืองทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

สุกีตา บินรัตแก้ว, อินทกะ พิริยะกุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน(Mix methods)ในรูปแบบการวิจัยขั้นตอนเชิงสำรวจ (Exploratory Sequential Design) โดยศึกษาร่วมกันระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และนำผลมาศึกษาต่อในวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative research) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงลักษณะของรูปแบบการดำเนินชีวิตในประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เกิดในพ.ศ. 2538-2552 ศึกษาในด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ ด้านความคิดเห็น รวมถึงกลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด ผู้วิจัยต้องการศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของเจเนอเรชั่นแซด เพื่อความรู้ความเข้าใจและสามารถนำข้อมูลเพื่อการวางแผนการสื่อสารการตลาดอย่างเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์อย่างเกิดประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ เจเนอเรชั่นแซด ซึ่งใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 ตัวอย่างและนำข้อมูลที่ได้สรุปเป็นแบบสอบถามโดยที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีรูปแบบการดำเนินชีวิต AIOs เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างประชากรเจเนอเรชั่นแซดในเขตเมืองจำนวน 400 ตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจและการวิเคราะห์จัดกลุ่ม

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 14-18 ปี และกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย กิจกรรมที่เจเนอเรชั่นแซดจัดสรรเวลาให้มากที่สุดคือ การดูยูทูปติดตามคลิปที่สนใจ สิ่งที่เจเนอเรชั่นแซดสนใจมากที่สุดคือ เรื่องการเรียนของตัวเอง และความคิดเห็นที่เจเนอเรชั่นแซดเห็นด้วยมากที่สุดคือ (1) ครอบครัวคือที่ปรึกษาปัญหาที่ดีที่สุด (2) การพูดได้มากกว่า 1 ภาษาเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นในปัจจุบัน (3) มหาวิทยาลัยควรมีการเปิด-ปิดเทอมตามเดิมเหมือนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

          ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจของเจเนอเรชั่นแซดในเขตเมือง มีรูปแบบการดำเนินชีวิต 17 รูปแบบ คือ (1) กลุ่มรักตัวเอง (2) กลุ่มชอบเก็บตัว (3) กลุ่มดิจิตอลเนทีฟ (4) กลุ่มเด็กกิจกรรม (5) กลุ่มหลงใหลศิลปิน

(6) กลุ่มนักสะสมประสบการณ์ (7) กลุ่มเชื่อมั่นในตัวเอง (8) กลุ่มมองโลกมุมบวก (9) กลุ่มคนที่ชอบเข้าสังคม

(10) กลุ่มชีวิตเรียบง่าย (11) กลุ่มรักความสนุก (12) กลุ่มรักการเรียน (13) กลุ่มรักรายการทีวี (14) กลุ่มติดบ้าน (15) กลุ่มความคาดหวัง (16) กลุ่มนักพัฒนา (17) กลุ่มมีความรัก

          จากการศึกษาพบว่า แม้ว่าเจเนอเรชั่นแซดเกิดในช่วงเวลาเดียวกันประสบกับเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เหมือนกันและมีความคล้ายคลึงกัน แต่เจเนอเรชั่นแซดในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมที่เลือกทำ มีเรื่องที่สนใจและมีความคิดเห็นต่อสิ่งรอบตัวที่แตกต่างกันส่งผลให้มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แสดงออกมาอย่างหลากหลาย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**