การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา

ริญญาภัทร์ ภูวโรจน์พิบูล, จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Abstract


งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินประสิทธิผล และเสนอแนวทางในการพัฒนากระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ จำนวน 30 คน ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลมาเรียบเรียงและวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยการวิเคราะห์แบบ 3 เส้า เพื่อหาข้อสรุปที่มีความเหมาะสมและก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่รวม 4 จังหวัด มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 321 กิโลเมตร ในส่วนของกฎหมายโครงการมีการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับงบประมาณมีความเหมาะสมเพียงพอ และบุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน นอกจากนี้ผู้ดำเนินโครงการได้ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนได้รับทราบตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงเจ้าของโครงการมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน แสดงถึงความจริงใจและความโปร่งใสจนสิ้นสุดกระบวนการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและยอมรับโครงการ  โดยไม่ก่อให้เกิดก

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**