การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย

กาญจนา เพ็ชรตะกั่ว

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และแบบประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีพัฒนาด้านร่างกายหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

Keywords


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้; กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ; พัฒนาการด้านร่างกาย

Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักศุตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กิตติมา เฟื่องฟู. (2550). การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงแอโรบิค. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โปรดักส์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง