บุพปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรมขนาดกลางในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ระเบียงเศรษฐกิจ) ภาคตะวันออก
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาบุพปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรมขนาดกลางในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ระเบียงเศรษฐกิจ) ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของบุพปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรมขนาดกลางในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ระเบียงเศรษฐกิจ) ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณคือ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรมขนาดกลางในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ระเบียงเศรษฐกิจ) ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 300 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรมขนาดกลางในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (ระเบียงเศรษฐกิจ) ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้เทคนิคการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model, SEM) เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 และการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ (Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2
ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขัน ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ ร้อยละ 43 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทางตรงต่อนวัตกรรม ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ ร้อยละ 60 3) ความสามารถในการแข่งขัน และนวัตกรรม ส่งผลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .50 และ .46 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ไม่ได้ส่งผลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ ความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรม และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ร้อยละ 49 5) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลโดยรวมต่อความสามารถในการแข่งขัน ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ ร้อยละ 43 6) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลโดยรวมต่อนวัตกรรม ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ ร้อยละ 40 7) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลโดยรวมต่อผลการดำเนินงาน ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ ร้อยละ 26 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพKeywords
Full Text:
UntitledReferences
Babcock-Roberson, M. E., & Strickland, O. J. (2010). The relationship between charismatic leadership, work engagement, and organizational citizenship behaviors. The Journal of Psychology, 144, 313–326. doi:10.1080/00223981003648336.
Boga, I., & Ensari, N. (2009). The role of transformational leadership and organizational change on perceived organizational success. The Psychologist-Manager Journal, 12, 235–251. doi:10.1080/10887150903316248
Li Yueh, Andy Chen.(2010). THE EFFECTS OF LEADERSHIP STYLES ON KNOWLEDGE-BASED CUSTOMER RELATIONSHIP MANAGEMENT IMPLEMENTATION INTERNATIONAL JOURNAL OF MANAGEMENT AND MARKETING, MingDao University Ying Lee, MingDao University F. Barry Barnes, Nova Southeastern UniversityMian, A. R., A. Sufi, and F.
Zhenpeng Luo.(2014).The Process of Leadership From Leadership Styles to Subordinates’ Attitudes and Behaviors in the Hospitality Industry Thesis submitted in fulfillment of the requirements for degree of PHILOSOPHIAE DOCTOR (PhD) Faculty of Social Sciences Norwegian School of Hotel Management.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง