องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้ทำวิจัยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยวิธี Principal Component Analysis (PCA) และทำการหมุนแกนองค์ประกอบ (Factor Rotation) ด้วยวิธี varimaxและทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยังยืนประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อรองรับหารเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ปกครอง ครู และผู้บริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 534 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยมีดังนี้
1) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่า สามารถสกัดองค์ประกอบได้ 7 องค์ประกอบได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพด้านภาษา (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (4) การพัฒนาทักษะวิชาชีพ (5) การบริหารแบบมีส่วนร่วม (6) การปฏิบัติตามนโยบาย และ (7) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อสนับสนุนการวิจัยเชิงปริมาณผลการวิเคราะห์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย (1) การพัฒนาศักยภาพด้านภาษา(2) การจัดการเรียนการสอน (3) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (4) การพัฒนาทักษะวิชาชีพ (5) การบริหารแบบมีส่วนร่วม(6) การปฏิบัติตามนโยบาย (7) การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมสามัญศึกษา. (2532). เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2532. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
จิตรา กาญจนวิบูลย์. (2539). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์. มหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญศรี พันปี. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา /เจริญศรี พันปี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ไชยรัตน์ ปราณี และคณะ. 2553. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความสมานฉันท์ของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, อัดสำเนา
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). “การบริหารผลการดำเนินงาน (Performance Management)”รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประศาสนศาสตร์ไทย.ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2550). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. (ออนไลน์) สืบค้นจากเว็บ : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/158748
ธวัช กรุดมณี. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลองค์การ ของโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน /ธวัช กรุดมณี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธเนศ ขำเกิด. (2532). การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน.มิตรครู,31(23), 40-41.
ธีระ รุญเจริญ. การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา.กุรงเทพฯ: แอลเพลส.
ประยูร ศรัประสาธน์. รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542.
พรเพ็ญ สุวรรณเดชา. (2532 :14). ปฏิสัมพันธ์ทางวาจากับการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ 6.
ระวีวัตร์ สิริภูบาล. “เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา.” วารสารวิชาการ, 2544.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นามมีบุ๊คส์.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน จำกัด (มาหาชน).
วิชิต นันทสุวรรณ และจำนงค์ แรกพินิจ. " บทบาทของชุมชนกับการศึกษา ". รายงานการศึกษาวิจัยเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี , 2541.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. กรุงเทพฯ : ธเนศวรการพิมพ์. 2537.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2548). พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วัชระ สกุล ณ มรรคา. (2541). การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2543). กลยุทธ์การจัดการเพื่อประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สงบ ประเสริฐพันธุ์. (2543).ร่วมกันสรรค์สร้างคุณภาพโรงเรียน. กรุงเทพ: สุวีริยาสาสน์.
สุมน อมรวิวัฒน์.(2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ : โครงการตำรา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา สุภาพ. (2536). เทคนินการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพยุคใหม่ : เน้นพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
สมเดช สีแสง. (2547). คู่มือมือการบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท : ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. (2541).การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(อัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). เอกสารการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. ที.พี.ปริ้นท์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543 ก ). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2541). เกณฑ์มาตรฐานครู. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.
อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข, 2547.
อภิญญา กังสนารักษ์. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อำรุง จันทวานิช. (2541). แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร:คุรุสภาลาดพร้าว.
อำรุง จันทวานิช และไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2542). การศึกษา: แนวทางการพัฒนาคุณภาพ. วารสารวิชาการ, 2 (9), 2-12.
อรรถพล ตรึกตรอง. (2555). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. (ออนไลน์) สืบค้นจากเว็บ: http://www.slideshare.net/amthow/ss-8105135
Barth, R. S. (1990). Improving schools from within: Teachers, parents, and principals can make the difference. San Francisco: Jossey-Bass.
Carroll, John B. (1974). Learning Theory for the Classroom teacher In Jarvis G.A. (ed.),The Challenge of Communication, Illinois: National Textbook Company.
Clune,W.H., and White,P.A. (1988). School-Based Management: Institutional Variation, Implementation and Issues for Further Research. New Brunswick, NJ: Center for Policy Research in Education.
Delors, J. (August, 1998). Learning: The Treasure Within. UNESCO Department of Employment, Education and Training, Canberra. (1991). Teaching English Literacy. A Project of National Significance on the Preservice Preparation of Teachers for Teaching English Literacy, Vol. 1.
Hoy, W. K., &Hannum, J. (1997). Middle school climate: An empirical assessment of organizational health and student achievement. Educational Administration Quarterly, 33, 290-311.
Koufman , H.F. Participation Organized Activities in Selected Kentucky Localities.
Oakley , P. Approaches To Participation In Rural Development. Geneva :Internation Office, 1984.
Steers, R.M. Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 1977, 22, 46-56.
Taba, H. 1962.Curriculum development: theory and practice. New York, NY: Harcourt, Brace & World.
Tyler, Ralph. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction.University of Chicago Press.
Ubben, G. C., Hughes, L. W., & Norris, C. J. (2001). The principal: Creative leadership for effective schools. Boston: Allyn and Bacon.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง