การบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

พอชาย พึงไชย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในปีการศึกษา 2556 จำนวน  37 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ มาตราส่วนประมาณค่าและปลายเปิด และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการปฏิบัติการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงคะแนนเฉลี่ยตามลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการตรวจสอบและประเมินผล ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ

2. การเปรียบเทียบการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า มีสภาพการปฏิบัติการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. แนวทางการพัฒนา คือ การบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษา โดยนำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ประสบผลสำเร็จและมีคุณค่าต่อการศึกษา มาจัดหมวดหมู่หรือจัดนำเสนอในรูปเอกสาร สื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบได้เรียนรู้ นำแนวทางที่ประสบผลสำเร็จแล้วไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานศึกษาของตน ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจกรรม ประชุม สำรวจความต้องการของผู้เรียน และครูผู้รับผิดชอบ กำหนดปฏิทินที่ชัดเจน ส่งครูอบรม ศึกษาเอกสาร จนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสม นิเทศอย่างต่อเนื่อง ด้านการตรวจสอบประเมินผล นิเทศติดตามประเมินผล จัดเก็บเป็นระบบให้ชัดเจน  และจัดทำรายงานสรุปผล ด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา นำสรุปผลการดำเนินกิจกรรม มากำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างจริงจัง


Keywords


การบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน,สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Full Text:

Untitled

References


คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2552). ลักษณะความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยบูรพา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

________. (2555). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: เฮ็าท์ ออฟ เคอร์มิสท์.

วรนาฎ สิทธิฤทธิ์. (2550). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียน ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2553). แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุพิชญ์ ประจญยุทธ. (2552). การบริหารกิจการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เสรี ใจเอื้อ. (2551). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร. จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Jennifer, M.G. (2007). The link between extracurricular activities and academic achievement for youth in grade 5 and 7.[On-line].Available: http://proques.umi.com/ pqdweb?did=1317316011&sid=11&Fmt=2&clientId=61836&RQT=309&VName=PQD [2008, April 02]


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง