การศึกษาคุณภาพการให้บริการการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ศศิกาญจ์ พรมนิวาส

Abstract


การศึกษาเรื่อง คุณภาพการให้บริการการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษา เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการการจัดเก็บภาษี กรณีศึกษา เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประเภทผู้เสียภาษี
ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามขึ้นจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการให้บริการการจัดเก็บภาษีประชากรที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายจำนวน จำนวน 280 คนการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 21.0
กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.43 ซึ่งมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกร มีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท โดยประเภทภาษี ส่วนใหญ่เป็นภาษีบำรุงท้องที่ และมีคุณภาพการให้บริการการจัดเก็บภาษี เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ใน 10 ด้าน พบว่า มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าผู้รับบริการการจัดเก็บภาษี มีความคิดเห็นว่าเทศบาลตำบลโพธิ์ชัยมีวัสดุอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้บริการมากที่สุด แต่ในด้านเจ้าหน้าที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ตลอดเวลาน้อยที่สุดและผลการวิจัยพบว่าผู้รับบริการการจัดเก็บภาษี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประเภทผู้เสียภาษี ที่แตกต่างกัน ต่อคุณภาพการให้บริการการจัดเก็บภาษี เนื่องจากผู้รับบริการไม่ว่าจะแบ่งเพศ ระดับอายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และประเภทผู้เสียภาษีที่แตกต่างกันย่อมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ ความเชื่อถือได้ การตอบสนอง ความสามารถ ความสุภาพ ความเชื่อถือในผู้ให้บริการ ความปลอดภัย การเข้าถึงบริการ การติดต่อสื่อสาร และความเข้าใจในลูกค้าต่อผู้ให้บริการไม่เหมือนกัน


Keywords


คุณภาพการให้บริการ, การจัดเก็บภาษี

Full Text:

Untitled

References


เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2518). ทำไมคนไทยจึงไม่ยอมเสียภาษี. กรุงเทพฯ: สรรพากรศาสน์.

จินตนา บุญบงการ. (2539). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการ เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาการบริการ เล่มที่1 หน่วยที่ 1-7 นนทบุรี. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการและการตลาดบริการ.กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2549). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989).

ดวงแก้ว ดีดพิณ. (2550). คุณภาพการให้บริการ ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ (2540). การปรับมุมมองของข้าราชการไทยในทัศนะใหม่. เทศาภิบาล 87,9, 57-70.

เพียงพร บุญแสน. (2550). คุณภาพการบริการของสำนักงานประกันสังคม ต่อผู้ประกันตนในเขตจังหวัดลพบุรี .ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พิรุณ รัตนวณชิ. (2545). คุณภาพบริการด้านสาธารณสุขสําหรับพยาบาล. นนทบุรี: มายด์พบลัชชิ่งจํากัด.

พิศิษฐ เมลานนท์. (2553). การภาษีอากรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วรรณ์เพ็ญ พละศักดิ์. (2553). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขินอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุขสนั่น อินทชัย. (2547). ปัญหาความต้องการของผู้ใช้บริการสวนสุขภาพจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2550). การตลาดธุรกิจบริการเฉพาะอย่าง. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส,

สุมนา อยู่โพธิ์. (2544) ตลาดบริการ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2551). การบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ : บริษัทเพรสแอนด์ดีซน์จำกัด.

Lehtinen Freeman, Ogranization Behavioral, 7th ed., (Singapore : McGraw-Hill, 1983),p. 609.

Kotler, Philip. 1988. Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. 10th ed. NJ: Prentice Hall.

McCarthy, E. Jerome &. Perreault William D, Jr. (1990). Basic Marketing. (10th ed). Illinois. Ridchard D. Irwin,Inc.

Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York :McGraw-Hill.

Prasuraman, A., Zeithanel, V.A. and Barry, L. (1977). “A Conceptual Model of Service Quality And its Implications of Research” Journal of Market, 7 (5), p. 49.

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis.Third editio.Newyork : Harper and Row Publication.

Zeithaml, V, A. &Bitner, M, J. (1996) Service Marketing, US: McGraw-Hill.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง