รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

เทวฤทธิ์ พลเยี่ยม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ และสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 327 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางการกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 17 คน โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมิน มีค่า IOC. อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลจากสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สรุปสาระสำคัญ แจกแจงความถี่ของผู้สนทนาแต่ละรายการ

ผลการวิจัยพบว่า

1.   สภาพการณ์ และสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการรายงาน ด้านอำนวยการ ด้านการวางแผน ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประสานงาน และด้านงบประมาณ ตามลำดับ

2.   รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า องค์ประกอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น 2) การมีสายการบังคับบัญชาที่เหมาะสม 3) การพัฒนาบุคลากร 4) การอำนวยการการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 5) การสร้างความร่วมมือในหน่วยงาน ชุมชน และนอกองค์กร 6) การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และ 7) การวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณ

3.             การประเมินรูปแบบของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก

Keywords


รูปแบบ, การบริหารจัดการเรียนรู้, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

Full Text:

Untitled

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 – 2547. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนานโยบายการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญา และการท่องเที่ยว สำนักมาตรฐานการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

______. (2550). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (2551-2554). กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และกิจการพิเศษ, สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญา โพธิวัฒน์. (2548). ทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษา: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คัมภีร์ สุดแท้. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการจัดการศึกษา. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปรีชา ศรีลับขวา. (2551). สภาพการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เลย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เมฆินทร์ อินต๊ะเสาร์. (2546). กระบวนการร่วมมือในการบริหารการศึกษาระหว่างโรงเรียน และชุมชน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดงขนุน อำเภอพวน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุวรัตน์ จงใจรักษ์. (2547). การศึกษาการมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัย ในโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรการสอน และเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชน และโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สมาน อัศวภูมิ. (2550, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก”. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 2, (7): 83-84.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (2558). ข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558, จาก http://www.roiet3.go.th.

สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). รายงานการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง). สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2558, จาก http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/33103-3666.pdf

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุรินทร์ ภูสิงห์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร และพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2549). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Issac Pitman & Sons Ltd.

Gatewood, et al. (1995). Management Comprehension Analysis and Application. Homewood: Richard D. Irwin, Inc. In a joint venture with the Austen Press.

Gulick, Luther.; & Urwick, Lindon. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.

Krejcie, Robert V.; & Morgan, Darvle N. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” in Educational and Psychological Measurement. 30, (3): 607-610.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง