รูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

ประดู่ นามเหลา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) ดำเนินการทดลองแบบ One-Shot Case Study มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยการทดลองใช้ 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1 สังเคราะห์ และสร้างรูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 รวมจำนวน 211 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 คน ตอนที่ 3 ศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 รวมจำนวน 211 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา แบบสอบถาม และแบบประเมิน มีค่า IOC. อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการมีภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ด้านสมรรถนะ ได้แก่ มีปฏิภาณไหวพริบ มีทักษะความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยง มีทักษะทางความคิด 2) ด้านความรอบรู้แห่งตน มีความฉลาดทางอารมณ์ มีสุขภาพจิตดี มีความใฝ่รู้ 3) ด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถในการเข้าสังคม มีเสน่ห์ และ 4) ด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ มีทักษะการสื่อสาร มีความเอื้ออาทร มีการสร้างความไว้วางใจ มีทักษะการบริหารทีมงาน
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประกอบด้วย วิธีการฝึกอบรม ได้แก่ 1) การยึดปัจจัยนำเข้า เช่น เน้นตัวผู้เข้ารับการอบรมเป็นหลัก ได้แก่ การอบรมพัฒนาระยะสั้น 2) การยึดกระบวนการ เช่น เน้นกระบวนการฝึกอบรมเป็นหลัก ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การยึดผลผลิต เช่น เน้นกระบวนการฝึกอบรมเป็นหลัก ได้แก่ การสัมมนา การศึกษาด้วยตนเอง เกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ในการฝึกอบรม ได้แก่ 1) วิธีบอกกล่าว เช่น การอภิปราย และบรรยาย 2) วิธีการกระทำ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการถ่ายทอดความรู้จากการเล่าเรื่อง 3) วิธีการแสดง เช่น การจำลองสถานการณ์ 4) วิธีการเน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เช่น การพัฒนาเฉพาะตัวบุคคล และการวัด และประเมินผล ได้แก่ 1) การวัดระดับการตอบสนอง เช่น การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมตามหลักสูตรของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2) การวัดระดับการเรียนรู้ เช่น ความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3) การวัดระดับพฤติกรรม เช่น ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 4) การวัดระดับผลลัพธ์ เช่น ความสำเร็จของงานในหน่วยงาน
3. รูปแบบการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ดังนี้
3.1 หลักการ หมายถึง แนวคิด และเป้าหมายของรูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ที่เป็นการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
3.2 วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
3.3 การจัดการฝึกอบรม
3.3.1 หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หมายถึง กระบวนการ/วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร ชื่อวุฒิบัตร หลักการ และเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหา และสาระของหลักสูตร ระยะเวลาการฝึกอบรม วิธีการจัดการฝึกอบรม ความรู้ความเข้าใจ ประสิทธิผลของจากการฝึกอบรม การวัด และประเมินผล การรับรองผลการฝึกอบรม คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม และคุณสมบัติของวิทยากร
3.3.2 คู่มือการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หมายถึง เอกสารประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ของคู่มือ การเตรียมการฝึกอบรม การดำเนินการฝึกอบรม หัวข้ออบรม และรายละเอียด ระยะเวลา และกำหนดการฝึกอบรม การวัด และประเมินผล บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโครงการ บทบาทหน้าที่ของวิทยากร แนวปฏิบัติของผู้เข้ารับการอบรม และเอกสารประกอบการฝึกอบรม
3.4 การวัดและประเมินผล
4. การประเมินรูปแบบการจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี
5. การประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี
6. การประเมินคู่มือการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก
7. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และภาวะผู้นำของผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ระดับดีมาก
8. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อเนื้อหา และสาระการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ได้แก่ ด้านการมีคุณค่า ด้านการนำไปใช้ โดยสรุปทุกรายการของความพึงพอใจต่อเนื้อหา และสาระการฝึกอบรมด้านมีคุณค่า และด้านการนำไปใช้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
9. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อวิธีการ/กิจกรรมการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
10. ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก
11. ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของรูปแบบการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก


Keywords


รูปแบบ, การจัดการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

Full Text:

Untitled

References


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). สุดยอดภาวะผู้นำ: Super leadership. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดียจำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2547). “แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรม” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรม เล่ม 1 หน่วยที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2550). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ: การจัดดำเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

เดชาวัต แสงพรมศรี. (2550). ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครพนม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม.

ประคอง รัศมีแก้ว. (2551). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พจนีย์ มั่งคั่ง. (2548, พฤศจิกายน-2549, มีนาคม). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุทธศาสตร์การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” วารสารศึกษาศาสตร์. 17, (2): 89-90.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พริ้น จำกัด.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ศูนย์ vdkinnovationcenter.com. (2558). แนวทางการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2558, จากhttp://www.vdkinnovationcenter.com/tag

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง "นโยบายฝึกอบรม", การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ฝ่ายฝึกอบรม กองวิชาการ สำนักงานฯ.

________. (2553). หลักสูตรฝึกอบรม 2553-2554. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549ก). การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษา การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาและสถานศึกษาเครือข่ายของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ รุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิริพร ปาณาวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรางค์ วิสุทธิสระ. (2549). การประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30. เอกสารคู่มือ. เชียงใหม่: โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30.

สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น = Needs assessment research. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rded., New York: Harper and Row.

DuBrin, J. A. (2004). Leadership Research Finding, Practice; & Skills. Boston: Houghton Mifflin.

Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, (3): 607-610.

Madaus, G. F.; Scriven, M. S.; & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation Models Viewpoints onEducational and Human Services Evaluation. 8thed., Boston: Khuwer-NijhoffPublishing.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง