ปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทย

ดร.ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

Abstract


การวิจัยเรื่องปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทย หาระดับความสำเร็จของธุรกิจรถเครนในประเทศไทย เปรียบเทียบข้อมูลของผู้ประกอบการกับระดับความสำเร็จของธุรกิจรถเครนในประเทศไทย หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจรถเครนกับระดับความสำเร็จของธุรกิจรถเครนในประเทศไทย และเพื่อเสนอตัวแบบปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานสถิติที่ใช้ One Way ANOVA หาความสัมพันธ์เพียรสัน และเสนอตัวแบบปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดจำนวน 48ราย (56.5%) ซึ่งก่อตั้ง ระหว่าง6-10ปีจำนวน 29 ราย (34.1%) มีพนักงาน51-100คนจำนวน 31ราย(36.5%) ทุนจดทะเบียน1-5ล้านจำนวน 55 ราย(64.7%) รายได้ต่อปีน้อยกว่า 100 ล้าน จำนวน 65ราย(76.5%) เงินทุนที่ใช้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มาจากเงินสะสมในครอบครัว ปัจจัยที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทย ปัจจัยด้านการตลาดมีระดับความสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการบริการ ด้านการจัดการ ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านการเงินตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง จากสมมุติฐานพบว่าประเภทขององค์การที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความสำเร็จที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
นำเสนอตัวแบบปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรถเครนในประเทศไทยประกอบด้วย ด้านการจัดการมีการวางระบบงานขององค์การและมีการจัดโครงสร้างองค์การอย่างเหมาะสม ด้านทรัพยากรมนุษย์พนักงานมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ด้านการบริการมีอุปกรณ์เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านการตลาดมีรถเครนขนาดตามความต้องการของลูกค้าและราคาค่าบริการอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ ด้านการเงินมีความสามารถในการหาแหล่งเงินทุน


Keywords


ปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรถเครน

Full Text:

Untitled

References


สิรินธร กิติยาวัฒน์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจบริการซ่อมขนาดย่อมในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บริหารยุทธศาสตร์.สำนัก ส่งเสริมอุตสาหกรรม.กรม อุตสาหกรรม.กระทรวง.(2552). โครงการเตรียมความพร้อมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.กรุงเทพมหานคร

Drucker, P.F.(2001). The Best of Sixty Year of Peter Drucker’s Essential Writings on Management. New York: Harper Collins Publisher.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช๎ในการบริหารจัดการของสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิตติพงษ์ ศิริพร.(2551). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการกรณีศึกษา โรงงานผลิตรถยนต์ จังหวัดสมุทรปราการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2550. กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร:เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรง

ชุติมา หวังเบ็ญหมัดและธนัชชา บินดุเหล็ม.(2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎ สุราษฏร์ธานี. 1 (1), 110 – 123

เพ็ญจันทร์ ตันติวิมลขจร.(2552). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษาพื้นที่ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ศศิธร สุริยพรหม.(2557). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจบริการอาบน้ำและตัดแต่งขนสุนัข

ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรายุทธ จันทรสงค์. (2550). ความคิดเห็นของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันต่อคุณภาพการให้บริการของคลังน้ำมันลำลูกกาบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน). วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิเชษฐ ภู่ทอง. (2554). ปัจจัยการประกอบธุรกิจที่มีผลต่อความสำเร็จธุรกิจอพาร์ทเมนต์มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยบูรพา.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง