ความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ภัทราวดี ศรีบุญสม

Abstract


รายงานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชนอยู่ในระดับใด และมีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผลการวิจัยที่ได้สำรวจประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 4 จังหวัด ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 798 ตัวอย่าง พบว่า ความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.1109) และจากการวิเคราะห์ถดถอยทางสถิติพบว่าตัวแปรหรือปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเรียงตามค่าของสัมประสิทธิ์ได้แก่ (1) การได้รับความรู้ของประชาชนในด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (2) กลไกในการตรวจสอบความโปร่งใสบริสุทธิ์ยุติธรรมของการเลือกตั้ง (3) ความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่ (4) การสื่อสาร (5) ความสามารถของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดในระดับต่างๆ และ (6) ความเป็นกลางทางการเมืองและหรือการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในภาพรวมตัวแปรทั้งหกนี้มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุเชิงบวกต่อความไว้วางใจของสาธารณชนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 21.8  ผลการศึกษาได้ยืนยันทฤษฎีการให้ความรู้และการสื่อสารทางการเมือง รวมตลอดถึงทฤษฎีการตรวจสอบถ่วงดุลและทฤษฎีความเป็นกลางทางการเมืองและการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน นโยบายการพัฒนาคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงสามารถยึดโยงและใช้ทฤษฎีข้อค้นพบข้างต้นเป็นแนวทาง

Keywords


ความไว้วางใจของสาธารณชน, คณะกรรมการการเลือกตั้ง

Full Text:

Untitled

References


กิตติ บุนนาค. (2536). “การนำนโยบายภาษีมูลค่าเพิ่มไปปฏิบัติ: การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ในธุรกิจโรงแรม.” วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาพัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์. (2531). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยของไทยของประชาชนในภาคเหนือ. เชียงใหม่: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจมส์ แอล. แครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. แปลโดย วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล, เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2533). การเมืองการบริหารไทย ภาระของชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

_______. (2555). การเมืองไทยระบบที่ไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน

ธนัน อนุมานราชธน. (2535). ความรู้และความเข้าใจในการเมืองระบอบประชาธิปไตยระดับชาติของประชาชนในชนบท. เชียงใหม่: โครงการศึกษาการเลือกตั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทนา นันทวโรภาส. (2557). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. วันที่ 11 ตุลาคม 2540.

วรเดช จันทรศร. (2555). ปรัชญาของการบริหารภาครัฐแนวใหม่: ทฤษฎี องค์ความรู้ และการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สหายบล็อก.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2536). เลือกตั้งวิกฤติ: ปัญหาและทางออก. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

สมลักษณา ไชยเสริฐ พ.ต.อ.หญิง. (2549). “การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล.” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาบริหารงานยุติธรรมและสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.

เสถียร เชยประดับ. (2540). การสื่อสารและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Almond, , Gabriel A. (1960). “A Functional Approach to Comparative Politics.” in Gabriel A. and James S. Coleman eds., The Politics of Developing Areas. Princeton, NJ: Princeton University: 26-33.

Almond, Gabriel A. and G. Bingham Powell. (1966). Comparative Politics: A developmental approach. New York: Little, Brown and Co.

Almond, Gabriel A., and Sidney Verba. (1963). The Civic Culture. Princeton, NJ: Princeton University.

Covey, Stephen M.R. and Rebecca R. Merrill. (2006). The Speed of Trust: The One Thing that Changes Everything. New York: Free Press.

Dietz, Graham, Deanne N., & Hartog, D. (2006) “Measuring trust inside organisations.” Persornnel Review. 35, 5: 557-588.

Dudley, Robert L. and Alan R. Gitelson. (2003). “Civic Education, Civic Engagement, and Youth Civic Development.” PS: Political Science & Politice. 36, 2: 263-267.

Follett, Marry Parker. (1918). The New State: Group Organiztion the Solution of Popular Government. Pennsylvania: Penn State University.

Follett, Marry Parker. (1924). Creative Experience. Bristol: Thoemmes.

Gronbeck. (1988). Principles of Speech Communication, 10th edition. New York: Pearson Education.

J. Glass, V. B. (1986). “Attitude similarity in three generational families: Socialization, status inheritance, or reciprocal influence?” American Sociological Review, 685-698.

Mcnair, Brian. (1999). An Introduction to Political Communication. New York: Routledge.

Montesquieu, Charles de Secondat. (1748). The Spirit of the Laws. New York: Fordham University.

Putnam, Robert D. (2000). Bowling Alone. New York: Simon and Schuster.

Rawls, John. (1971). A Theory of Justice. Boston: Harward University.

Rowe, G. and Frewer, L.J. (2000). “Public participation methods: A framework for evalution.” Science, Technology, & Human Values, 25(1), 3-29.

Rowe, G. and Frewer, L.J. (2005). “A typology of public engagement mechanisms.” Science, Technologe, & Human Values, 30(2), 251-290

Sapiro, Virginia. (2004). “Not Your Parents’ Political Socialization: Introduction for a New Generation.” Annual Review of Political Science, vol. 7: 1-23.

Sherrod, Lonnie R., Constance Flanagan, and James Youniss. (2002). “Dimensions of Citizenship and Opportunities for Youth Development: The What, Why, When, Where, and Who of Citizenship Development.” Applied Developmental Science. 6, 2: 264-272.

Sorg, James D. (1983). “A Typology of Implementation Behaviors of Street-level Bureaucrats.” Public Studies Review. Vol.2 (3): 391-406.

Wattenberg, Martin. (2007). Is Voting for Young People? New York: Longman.

Whitney, J.O. (1996). The Economics of Trust: Liberating Profits and Restoring Corporate Vitality. New York: McGraw-Hill.

Wilson, Woodrow. (1887). “The Study of Administration.” Political Science Quarterly, II(1): 197-222.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง