การศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรปราการ

สายหยุด มีฤกษ์

Abstract


การศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรปราการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจการพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามตามสถานภาพส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการ แบบของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสาน (Mixed Method Design) วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสังฆาธิการ จำนวน 16 รูป/คน และวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 400 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวบทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการ ตอนที่ 3) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดสมุทรปราการโดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9539 วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พระสังฆาธิการ 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยเขียนเป็นความเรียง และจากกลุ่มตัวอย่าง 400 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกมส์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)

ผลการวิจัย พบว่า 

1.   บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการในด้านการปกครองอยู่ในระดับมาก ส่วนในด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ พระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการมีบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง

2.   บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการจำแนกตามสภาพส่วนบุคคลโดยรวม พระสังฆาธิการที่มี ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่พระสังฆาธิการ ต่างกัน มีบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการแตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับพระสังฆาธิการที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม ต่างกัน มีบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

3.   ปัญหาส่วนใหญ่ของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการคือการกระจายอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดสมุทรปราการปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดจนไม่มีหน่วยงานที่รองรับการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม  ดังนั้น พระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการทุกตำแหน่งทุกหน้าที่ ควรมีการเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอและควรเสริมปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้มากยิ่งขึ้น และควรมีการกระจายอำนาจหน้าที่กระจายการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการอย่างเหมาะสม ประกอบกับควรทำงานอย่างมีระบบเป็นแนวทางเดียวกัน และมีเครือข่ายรวมมือกัน โดยการใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เต็มศักยภาพ ตลอดจนมีความประพฤติดีงามด้วยศีลาจาริยวัตรตามหลักพระธรรมวินัย 


Keywords


บทบาท, พระสังฆาธิการบริหาร, กิจการคณะสงฆ์

Full Text:

Untitled

References


ทวี พลรัตน์. 2550. คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ ). 2545. การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). 2545. การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

ไพรัตน์ เลิศพิริยกมล. 2539. สภาพปัญหาสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถาบัน ราชภัฏ.

สำนักงานเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี. 2558. ข้อมูลจากสำมะโนครัวประชากรพระสังฆาธิการจังหวัดราชบุรีประจำปี พ.ศ. 2558.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง