มิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท (งันลาโสม)

Abstract


การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเด่นของชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาชุมชน ของชุมชนบ้านหนองช้าง 3) ศึกษาการบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบ้านหนองช้าง เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 15 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เหตุผลเชิงตรรกะและการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย

ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหนองช้างเป็นชุมชนของคนชาติพันธุ์ผู้ไทย สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติสูง มีความมุ่งมั่นในการรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งภาษา การแต่งกาย  ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อที่สืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ให้ดำรงอยู่ อีกทั้งสามารถนำมาบูรณาการกับการพัฒนาชุมชน โดยอาจมีการปรับหรือประยุกต์บางส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการพัฒนาชุมชนในหมูบานนี้ เริ่มต้นจากการรวมตัวของสมาชิกชุมชน เพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในอดีตที่มีผลกระทบทางลบ แล้วหันมาให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต  ด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา มีความพยายามรักษาควบคู่กับการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน มีการวางแผนด้วยการทำประชาคมหมู่บ้าน ทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ของสมาชิกชุมชนจนเกิดเป็นแผนชุมชน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาด้านวัตถุ แต่เน้นไปที่การพึ่งตนเองตามวิถีชีวิตของชุมชน ต่อมามีภาคีเครือข่ายที่สนับสนุนการพัฒนา จนทำให้เกิดโครงการต่างๆมากมาย ซึ่งมีรูปแบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในการแก้ปัญหาและปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่บนฐานความเข้าใจบริบทของชุมชน และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน จึงเกิดการบูรณาการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนควบคู่กับการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากภายนอกมาผสมผสานปรับใช้ให้เหมาะสม แล้วสรุปเป็นบทเรียนเฉพาะของชุมชน จนสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง องค์ประกอบที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านหนองช้าง คือ การมีผู้นำที่เข้มแข็ง การถอดบทเรียนอย่างต่อเนื่อง การสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนรักความเป็นชาวผู้ไทย การมีความรักและเอื้ออาทรต่อกันของสมาชิกชุมชน การพยายามรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของชุมชน รวมถึงการปรับใช้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีพลวัต

ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ การที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชนควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยที่ชุมชนควรมีการทบทวนบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกอยู่เสมอ ควรมีแผนพัฒนาชุมชนที่กำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ให้ความสำคัญกับหลายมิติแบบองค์รวม และการรู้จักพึ่งตนเองของชุมชน ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของคนในชุมชน

Keywords


มิติทางวัฒนธรรม, การพัฒนาชุมชน, การมีส่วนร่วม, ความเข็มแข็งของชุมชน

Full Text:

Untitled

References


โกศล วงศ์สวรรค์. 2543. ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. 2547. รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการสืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น : การเรียนรู้กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในพื้นที่อำเภอหว้านใหญ่และอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นริศ ขำนุรักษ์. 2538. การมี่ส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานพัฒนาชนบทของสภาตำบล ศึกษากรณีเฉพาะจังหวัดหนองบัวลำภู. ภาคนิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิรมล สุธรรมกิจ. 2551. สังคมกับเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระเสรี อุปถัมภ์. 2549. การศึกษาค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทย-เขมร เพื่อการพัฒนา : กรณีศึกษาชุมชนตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์. 2550. การประยุกต์ใช้มิติทางวัฒนธรรมกับยุทธศาสตร์ทหารเพื่อการพัฒนา กรณีศึกษา : ม้ง จังหวัดพิษณุโลก วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สายทิพย์ สุขคติพันธ์.2534. อุดมการณ์พัฒนากับการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย. ใน ปัญหาผู้นำกับการกำหนดนโยบายแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. สรุปสาระสำคัญ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

เสาวภา สุขประเสริฐ.2542. มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและองค์กรชุมชน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.เมือง) จังหวัดเลย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

อานันท์ กาญจนพันธ์. 2538. วัฒนธรรมกับการพัฒนา :มิติของพลังที่สร้างสรรค์. โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

อัมพร สุคันธวณิช และศรีรัฐ โกวงศ์. 2553. มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง