อิทธิพลการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง มีผลต่อการตัดสินใจ ทางการเมืองของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

กรนิภา ไตรฟื้น

Abstract


การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับของการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง  ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองและการตัดสินใจของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และเส้นทางอิทธิพลของการสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ต่อการตัดสินใจทางการเมืองของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 3) เพื่อกำหนดแนวทางที่ส่งเสริมการตัดสินใจทางการเมืองของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณคือ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ใน 8 จังหวัด จำนวน 399 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ใน 8 จังหวัด จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ  โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2

ผลการวิจัย พบว่า 1) การสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตัดสินใจทางการเมือง ที่ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก ผ่านความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ที่ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) การมีส่วนร่วมทางการเมือง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตัดสินใจทางการเมือง ที่ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก ผ่านความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ที่ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .29 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการตัดสินใจทางการเมือง ที่ค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .48  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) การสื่อสารทางการเมืองของพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทาง การเมือง ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจทางการเมืองของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้ร้อยละ 70

Keywords


การสื่อสาร, การมีส่วนร่วม, ความรู้ความเข้าใจ, การตัดสินใจสมาชิกกองทุนสตรี

Full Text:

Untitled

References


กิตติมา สุรสินธิ. (2555). การรู้เท่าทันสื่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประจำปี 2555.

จวนอรุณ อักษรเสือ. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จักร พันธ์ชูเพชร. (2554). ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก. วารสารทาง การเมืองการบริหารและกฎหมาย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุมพล หนิมพานิช. (2544). พฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางไทย. งานวิจัยทางวิชาการที่ได้รับทุนอุดหนุน จากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เฉลิมชัย นาคแสนพญา. (2553).การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ช่วงชัย เปาอินทร์. (2552). ศักยภาพกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองขององค์กรภาคประชาสังคม ศึกษากรณีจังหวัดสิงห์บุรี. หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 1.

ธวัลกร บุญศรี. (2556). สื่อที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง : กรณีศึกษา การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเวทีราชดำเนิน ในปี 2556. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิรัญ ดอนสุวรรณ. (2552). การสื่อสารทางการเมืองในบริบทที่นำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรรณวดี ขำจริง. (2553). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 ปีพ.ศ.2553.

พฤกษ์ เถาถวิล. (2552). “อีสานใหม่” : ความเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาในรอบศตวรรษ.อุบลราชธานี. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ยุทธพร อิสรชัย. (2555). 80 ปีรัฐสภาไทย : รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง. สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2536). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาดา อิศระ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 1ส ถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย.

วรารัตน์ ทักษิณวราพร. (2553). การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2541). การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ : ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง.

สุขุม นวลสุกุล. (2528). การเมืองการปกครองไทย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรี : กรณีศึกษาเขต เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน.กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ.

อัญชุลี วงษ์บุญงาม และดารณี ธัญญสิริ. (2554). การเปิดรับข่าวสารทางการเมือง ความรู้ และการมีส่วนร่ว ทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตกรุงเทพมหานคร, รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง