การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาวาริชภูมิศึกษา ตามแนวคิดการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาวาริชภูมิศึกษา ตามแนวคิดการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกัน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น การพัฒนาหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาแนวคิดพื้นฐาน และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอำเภอวาริชภูมิ 2) สร้างหลักสูตรและประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) ทดลองใช้หลักสูตร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวาริชภูมิวิทยา จำนวน 20 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อท้องถิ่นวาริชภูมิ และแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยโดยสรุปได้ว่า
หลักสูตรที่สร้างขึ้นมี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) แนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการ 4) จุดมุ่งหมาย 5) ผลการเรียนรู้ 6) ขอบข่ายเนื้อหา 7) คำอธิบายรายวิชา 8) โครงสร้างรายวิชา 9) แนวการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 7 ขั้น คือ (1) เตรียมผู้เรียน เพียรเติมคุณธรรม (2) นำสู่กระบวนการกลุ่ม (3) ประชุมแบ่งงานรับผิดชอบ (4) ประกอบกิจตามหน้าที่ (5) วิถีแห่งความคิดรวบยอด ตลอดจนวิธีแก้ปัญหา (6) พาผองมิตรร่วมศึกษา และ (7) นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 10) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 11) แนวการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อท้องถิ่นวาริชภูมิ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันอยู่ในระดับมาก
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.
ดำริ บุญชู. (2548). การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ. 8(1), (มกราคม 2548) : 27 – 31.
ธิดา โมสิกรัตน์ และคณะ. (2550). การพัฒนาวิธีการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : กรณีศึกษาชุดวิชาไทยศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร.
ปิ่นอนงค์ พะนิจรัมย์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มะลิวรรณ ศรีพันธ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การทอผ้าฝ้ายย้อมโคลน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : การวิจัยแบบผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์จำกัด.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116, ตอนที่ 74ก (19 สิงหาคม 2542).
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.ที.ชี. คอมมิวนิเคชั่น.
สำลี รักสุทธี. (2544). เทคนิควิธีการเขียนหลักสูตร. กรุงเทพฯ : เรืองแสงการพิมพ์.
อรุณรัสมี บำรุงจิตร. (2550). การเปรียบเทียบทักษะชีวิตความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความรู้สึก เห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบ การสอนโดยการเรียนรู้ร่วมกันกับการสอนโดยวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Hartcourt Brance and World.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง