ผลสัมฤทธิ์ของการนำแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ในชีวิตประจำวัน : ศึกษากรณี ประชาชนในพื้นที่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ปวิตรา เทวอักษร

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการนำแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน : ศึกษากรณี ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการนำไปใช้จำนวน 3 ด้าน  ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยมีประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 400 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.844 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้บรรยายลักษณะข้อมูลและทำการทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA ) ทดสอบค่า t-test และ F-test การทดสอบหาค่าความแตกต่างรายคู่ (Schaffer’s Method) ใช้การทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม (Correlations) และใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ตัวแปร ด้วยตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นตรงแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression)  ผลการวิจัยพบว่าระดับผลสัมฤทธิ์ของการนำแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้โดยรวม ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี อยู่ในระดับมากและพบว่าความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ด้านความพอประมาณ  ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งเป็นตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษานั้นมีความสัมพันธ์กันเช่นกัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.544 , 0.257 และ 0.378 ตามลำดับ และสามารถพยากรณ์ความสัมพันธ์ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มากถึง ร้อยละ 94.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  จึงให้ผลสัมฤทธิ์ในการนำแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แตกต่างกันด้วย


Keywords


ผลสัมฤทธิ์, แนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Full Text:

Untitled

References


Bloom, B. S. (1950). Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill Book.

Boonyanuwat R. (2011). Application of Philosophy of SuffiEconomy toConduct the way of life of people’s in Community DusitDistrict , Bangkok Metropolitan: SuanSunandhaRajabhat University.

Deci, E. L. & Ryan, R. (1980).The "What" and "Why" of Goal Pursuits: Human Needs and the Self-determination of Behavior. New York: Plenum.

Jamnong W. Decission Making Behavior. Bangkok: Baramee Typing Co.,Ltd.

Greenberg, Jerald. & Baron, Robert A. (2002). Behavior in Organizations: Understanding and Managing the Human Side of Work. (8th ed.) EngewoodChiffs NJ: Prentice Hall.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. 2nded. New York : Harper & Row.

Office of the National Economics and Social Development Board, The National Economic and Social Development Plan 10 [Online], Retrived 23 March 2012 from http://www.nesdb.go.th.

Panthasen A, Prof. (2006). Research and development projects for poverty reduction and sustainable development.

Ratthanakamnerd S. (2012). Opinions of the government officials at the Social Development Department, Bangkok Metropolitan Administration on the application of the philosophy of sufficiency economy to their daily life.Master of Arts.(EnvironmentalManagement), School of Social and Environmental Development; National Institute of Development Administration.

Schumacher Ernst Friedrich (1973). Small is Beautiful: Economics as if People Mattered, Harper Colophon Books, New York: Free Press.

Simon, H. A. (1960). The new science of management decision. New York: IIarner& Row.

Suwathaponkul I. (2014). A Stusy of Self-Practical Model Based on thePhilosophy of Sufficial Economy to DevelopTeacher Profession: Lesson from Knowledge Syntheses

Tantivechakul S. (2000). Way of Life in the system of Sufficiency Economy: Journal of the Sufficiency Economy, Bangkok.

William, J. G., & Dyson, J. W. (1964). The making of decision a reading in administrative behavior.New York: The Free Press of Glences.

Yoorod, H. (2007). Attitude of The Company Employees toward The Application of Philosophy of Sufficiency Economy in Daily Life: The Case Study of Jones Langlasells (Thailand). Thesis, The master of arts (Social Development) School of Socialand Environmental Development NIDA, Bangkok.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง