ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

พรปวีณ์ พิพัฒน์วัฒนะ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ 4) ศึกษาแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพนัสนิคม จำนวน 218 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีวิเคราะห์แบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ด้านปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.96) ด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.86)
2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.03)
3) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า ปัจจัยจูงใจ ด้านความสำเร็จในงาน และปัจจัยค้ำจุน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสถานภาพ ด้านนโยบายและการบริหาร ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันทำนายแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ร้อยละ 59.30 เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z´y = .306X23 + .267X26 + .231 X11 + .152X22
4) ด้านแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี คือ ผู้บริหารควรให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายขององค์กร ควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่ล้าสมัย การลดขั้นตอนการทำงาน การพิจารณารางวัลสำหรับผู้ที่มีผลงานโดดเด่น และการส่งเสริม พัฒนาความรู้ ความสามารถให้แก่บุคลากร


Keywords


ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, แรงจูงใจ

Full Text:

Untitled

References


กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2557). สรุปข้อมูล อปท.ทั่วประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558. จาก https://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp/

ชยานันต์ คงทรัพย์. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พินิจ ทางทอง. (2549). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ยุทธพงษ์ ปัญญาใส. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) กรมป่าไม้. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราณี อิสิชัยกุล. (2552). การจูงใจและการสื่อสารในองค์การ. ประมวลสาระชุดวิชา การจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลิขิต ธีระเวคิน. (2553). การเมืองการปกครองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชัย สินโทรัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุดในส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชา วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรพจน์ สิงหราช. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัด นครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุเทพ เชาวลิต. (2555). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2537). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2558, จากhttps://www.local.moi.go.th/tumbon_update.pdf/.

. (2546). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2558, จาก https://www.local.moi.go.th/tumbon_update.pdf/

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี. (2557). ข้อมูล อปท.ในจังหวัดชลบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 1, 2557, จาก www.chonburilocal.go.th/index.php/

Cronbach, Joseph Lee. (1984). Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York. Harper and Row.

Likert, Rensis. (1961). New Patterns of Management. New York. McGraw-Hill Book Company.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York. Harper and Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง