การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด การเรียนรู้อิงบริบทและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

สกลรัตน์ สวัสดิ์มูล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้อิงบริบทและการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยเน้นการฝึกปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 22) เปรียบเทียบการรู้วิทยาศาสตร์ ด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการนำไปใช้ด้านเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูลปีการศึกษา 2558จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบทดสอบวัดความรู้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และการนำไปใช้แบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Samplesผลการวิจัยมีดังนี้

1.   กิจกรรมการเรียนการสอน มีองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการคือ1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้น คือ (1) การตั้งปัญหา (2) การวางแผนหรือการหาแนวทางในการแก้ปัญหา(3) การลงมือปฏิบัติ วิเคราะห์ผลและนำเสนอข้อมูล(4) ประเมินผล(5) การสะท้อนผล 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและการประเมินผล

2.   การรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการนำไปใช้ด้านเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.             นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

 


Keywords


กิจกรรมการเรียนการสอน, การเรียนรู้อิงบริบท, การเรียนรู้จากการปฏิบัติ, การฝึกปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์, การรู้วิทยาศาสตร์

Full Text:

Untitled

References


พิรุณ ไพสนิท. (2557). การวิจัยและพัฒนากลยุทธ์การวิจัยเพื่อยกระดับการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 736 – 749.

มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระศักดิ์ เพียรเจริญสิน. (2556). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบวิชาญและรูปแบบสสวท. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 6(1), 88-95.

วีระศักดิ์ ชมพูคำ. (2551). การสอนวิทยาศาสตร์เพื่อปัญญาแห่งความสำเร็จสำหรับพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2553). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บทสรุปเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุจิตรา เขียวศรี. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิตภาควิชาการศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารยา ช่ออังชัญ (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Berns, R. G. 2001 & Erickson, P. M. (2001). Contextual Teaching and Learning:PreparingStudent for the New Ecology. Retrieved June 10, 2014, from http://www.cord.org/contextualteachinglearning.pdf.

Marquardt, M. J. (1999). Action Learning in Action: Transforming problems and people for world class organizational learning. Palo Alto: Davies–Black Publishing.

National Research Council. (2011). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. Committee on aConceptual Framework for NewK-12 Science Education Standards. Boardon Science Education, Division of Behavioral and Social Sciences and Education. Washington, DC: The National Academies Press.

Vanicharoenchai, v. (2010). Action Learning: Applications for Teaching and learning. Journal of Nursing Science. 28(4), 36-44.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง