แนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยของรัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พชรภัทร อุทรักษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  5 แห่ง โดยจำนวนประชากรทั้งหมด 656 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 294 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างจากองค์ประกอบ 6 ด้านของสมรรถนะตามลักษณะงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การดำเนิน  การเชิงรุก ความผูกพันที่มีต่อส่วนราชการ ความเข้าในองค์กรและระบบราชการ การตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน และความยืดหยุ่นผ่อนปรน และใช้แบบสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปจำนวน 5 คน จาก 5 มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะตามลักษณะงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไประยะที่ 2 สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันในการปฏิบัติงานงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง มีเพียงด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับน้อย และด้านความยืดหยุ่นผ่อนปรนอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ด้านการดำเนินการเชิงรุกอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น  ๆ  อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเมื่อนำสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย  ได้แก่ ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ ด้านการดำเนินการเชิงรุก ด้านการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน ด้านความผูกพันที่มีต่อส่วนราชการ และด้านความยืดหยุ่นผ่อนปรน ตามลำดับ จากข้อมูลที่ได้นำมาสร้างแบบสัมภาษณ์  เพื่อสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในแต่ละด้าน สรุปโดยรวมพบว่า ในด้านการคิดวิเคราะห์ควรมีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปให้ชัดเจน โดยมีการวิเคราะห์กระบวนงานหลัก ร่วมกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานเฉพาะตำแหน่ง ในด้านการดำเนินการเชิงรุก มีแนวทางในการพัฒนาโดยใช้การทดสอบ ใช้ระบบพี่เลี้ยง การสอนงาน การมอบหมายงานให้เหมาะกับคนการจัดการอบรม และการจัดทำคู่มือในด้านความผูกพันที่มีต่อส่วนราชการมีแนวทางการพัฒนาโดยใช้วิธีการเพิ่มคุณค่าในงาน การหมุนเวียนงาน การประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของบุคลากรจัดส่งบุคลากรไปอบรมและใช้การประเมินในสมรรถนะการปฏิบัติงานในด้านความเข้าใจองค์กรและระบบราชการมีแนวทางการพัฒนาโดยใช้การวิเคราะห์โครงสร้างขององค์กร การใช้ระบบพี่เลี้ยง และให้บุคลากรใหม่ศึกษาโครงสร้างขององค์กร ในด้านการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงานมีแนวทางในการพัฒนาโดยจัดให้มีการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ความซื่อสัตย์ และการประเมินสมรรถนะในด้านการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน และสร้างมาตรการในการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรปฏิบัติงานบนพื้นฐานความถูกต้องโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ในด้านความยืดหยุ่นผ่อนปรนมีแนวทางการพัฒนาโดยใช้วิธีการประเมิน และการอบรม


Keywords


สภาพปัจจุบัน, สภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงาน, แนวทางการพัฒนา

Full Text:

Untitled

References


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2554). ข้อคิดเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จิรัฏฐิติ ไทยศิริ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชวารย์ รัตนพร. (2556). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการเป็นวิทยากรนันทนาการของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

______. (2553). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเตือน เกษศรี. (2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี. ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เบญจวรรณ อินต๊ะวงศ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประวิต เอราวรรณ์. (2548). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2544). บทบาทและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคมในมหาวิทยาลัยกับทางรอดของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.

วิทยา จันทร์ศิริ. (2551). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมิตร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). สมรรถนะของข้าราชการ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Krejcie, V. & D.W. Morgan. (1970). Educational and Psychological Measurement.

พรชัย เจดามาน. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 27, 2558, จากhttp://www.oknation.net/blog/jedaman/2013/03/29/entry-1.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง