การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรในประเด็น (1) เปรียบเทียบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ ของนักเรียนระหว่างหลังเรียนตามหลักสูตรกับก่อนเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด (2) เปรียบเทียบทักษะการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรกับเกณฑ์ที่กำหนดและ (3) เปรียบเทียบความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนระหว่างหลังเรียนตามหลักสูตรกับก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2557 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตร ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ แบบประเมินทักษะการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ และแบบวัดความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t–test) ผลการวิจัย มีดังนี้
1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 10 ประการ คือ 1) ชื่อหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมาย 4) สาระการเรียนรู้ 5) ผลการเรียนรู้ 6) คำอธิบายรายวิชา 7) โครงสร้างรายวิชา 8) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 10) แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการใช้หลักสูตร พบว่า 1) นักเรียนมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์หลังเรียนตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีทักษะการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์หลังเรียนตามหลักสูตรผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกทักษะ และ 3) นักเรียนมีความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังเรียนตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01Keywords
Full Text:
UntitledReferences
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
________. (2557). รูปแบบการเรียนการสอน. เข้าถึงได้จาก http://www.student.nu.ac.th/comed 402
นราทิพย์ พุ่มทรัพย์. (2552). เผยผลวิจัยพบคนไทยซื่อสัตย์น้อยลง. เดลินิวส์,1 กรกฎาคม, หน้า 22.
ประสาท อิศรปรีดา. (2555). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม มหาวิทยาลัยสารคาม.
สิริวิมล คำคลี่. (2555). วิวัฒนาการของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร. สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (ม.ป.ป.). สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย : แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก
http://webcache.googleusercontent.com/search?hl. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557.
อัครวุฒิ จินดานุรักษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการ MIAP. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง