กลไกทางกฎหมายในการส่งเสริมและควบคุมการติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อปและกิจการโซลาร์ฟาร์ม

รัฐชฎา ฤาแรง

Abstract


ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับ กลไกทางกฎหมายในการส่งเสริมและควบคุมการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและกิจการโซลาร์ฟาร์ม เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายพลังงานทดแทนในการส่งเสริมและควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ นโยบายด้านพลังงานทดแทน แผนพัฒนาพลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง หรือการตั้งโรงงานประกอบกิจการพลังงาน ตามมาตรา 48 พระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 คือ กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน มีการสัมภาษณ์เชิงลึก นักกฎหมาย ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์ฟาร์ม นักวิชาการด้านวิศวกรไฟฟ้า นักวิชาการด้านกิจการพลังงาน และมีการสรุปประเด็นเพื่อจัดทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) แล้วนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการวิจัย จากการศึกษาพบว่าเนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายพลังงานทดแทน มาบังคับใช้ในกิจการพลังงานเป็นการเฉพาะ ดังนั้นจึงมีปัญหาในการส่งเสริมและควบคุมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งโซลาร์รูฟท็อป และโซลาร์ฟาร์ม คือ ปัญหาความซับซ้อนของขั้นตอนการขออนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับ ปัญหาการจำกัดจำนวนการรับซื้อกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่น ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จะมีการออกกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนก่อน (Act on granting priority to renewable energy sources) คือ ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed -in) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ไม่จำกัดจำนวน Net Energy Metering ทั่วทั้งรัฐ ปัญหาด้านมาตรการอุดหนุนผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์  ปัญหาการจำกัดพื้นที่ในการก่อสร้างโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์ฟาร์ม ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 ที่มีช่องว่างในช่วงระยะเวลาการจัดทำและประกาศผังเมืองรวมล่าช้า ทำให้ผู้ประกอบกิจการอาศัยช่วงเวลานี้เร่งดำเนินการก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม อีกทั้งแผนผังเมืองรวมบางจังหวัดยังอนุญาตให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมได้อีกด้วย ปัญหาประการสุดท้ายคือประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมการกำจัดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีเพียงประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice : CoP) ที่ออกโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มาเป็นคู่มือในการปฏิบัติเท่านั้น ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ ในระยะสั้นควรมีการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและกิจการโซลาร์ฟาร์มที่ใช้บังคับอยู่ให้มีบทบัญญัติที่เหมาะสมด้านการส่งเสริม และการควบคุมที่ชัดเจนขึ้น เช่น การแก้ไขประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไม่ต้องบัญญัติจำกัดจำนวนการรับซื้อไฟฟ้า โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อป ควรปล่อยเสรีเหมือนประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา การควบคุมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 โดยการจัดผังเมืองรวมควรเพิ่มการกำหนดเขตพื้นที่ เป็นที่ดินประเภทกิจการพลังงานอีกเขตหนึ่ง เพื่อความชัดเจนในการตรวจสอบการใช้ที่ดินตามผังเมืองรวม ในระยะยาวควรมีการบัญญัติกฎหมายพลังงานทดแทนออกมาใช้บังคับกับกิจการพลังงานเป็นการเฉพาะ โดยในกฎหมายฉบับดังกล่าว ต้องกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า (One Stop Services) ต้องกำหนดให้มีการรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากผู้ผลิตเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน และต้องกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้และผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อขายสู่ระบบสายส่งไฟฟ้า เป็นต้น

  


Keywords


กฎหมาย, เซลล์แสงอาทิตย์

Full Text:

Untitled

References


การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2555). คู่มือการขอจำหน่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. (2556). เรื่องที่ 4 รายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน. มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2556 ครั้งที่ 145. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.

ประสาท มีแต้ม. (2554). ปาฐกถากาล ครั้งที่ 7 เรื่องความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านพลังงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

___________. (2557). รัฐธรรมนูญควรบัญญัติอะไรในเรื่องพลังงาน. (ออนไลน์). จาก www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9570000135689.

เลาะรั้วนายช่าง. (2558). ผังเมืองรวมไม่กำหนดอายุ. (ออนไลน์). จาก http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid.

ASTV ผู้จัดการ. (2555). มังกรสุดผิดหวังที่อียูตั้งกรรมการสอบเรื่องทุ่มตลาดโซลาร์ฯ. (ออนไลน์). จาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx? NewsID=9570000068504.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง