บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจบริการผู้สูงอายุ ในประเทศไทย

พระมหาสุราช เมาลิชาติ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายองค์กรและคุณภาพการบริการ ที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจของพนักงานผู้ให้บริการธุรกิจผู้สูงอายุของประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาถึงความเต็มใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในธุรกิจบริการผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้วิจัยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ธุรกิจบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย ประกอบไปด้วย สถานบริบาล โรงเรียนสอนผู้ดูแลผู้สูงอายุและบริการส่งผู้สูงอายุไปดูแลที่บ้าน และโรงพยาบาล ซึ่งมีประชากร 225 แห่ง จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 141 ตัวอย่าง โดยแบ่งแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัยจำแนกเป็น     2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป สถิติการหาค่าสหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย

ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายองค์กรและคุณภาพการบริการ ที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจของพนักงานผู้ให้บริการธุรกิจผู้สูงอายุของประเทศไทย ส่งผลในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01, 0.001 สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเต็มใจของพนักงานผู้ให้บริการในธุรกิจบริการผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 2.35 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์  เท่ากับ .54384 ความเต็มใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในธุรกิจบริการผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย ส่งผลในทางลบ ในระดับค่อนข้างสูง (B = -.883) และ (B = -.883) ตามลำดับ    กล่าวได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่าการความน่าเชื่อถือและความมั่นใจจากความคาดหวังในผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการน้อยลง จะส่งผลต่อความเต็มใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสูงขึ้นสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการดำเนินในธุรกิจบริการผู้สูงอายุ  ได้ร้อยละ 3.16 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์  เท่ากับ  .65583


Keywords


บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจบริการผู้สูงอายุ

Full Text:

Untitled

References


กัญญนันทน์ ภัทร์สรณ์สิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษาสำหรับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. สาขาวิชาศึกษาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.

พิศิษฐ์ ขาวจันทร์. (2546). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

ปัญญา นพขำ. (2553). การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วัชรพงษ์ สุขวงศ์พล และคณะ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของบริษัท ตะวันแดง สาดแสงเดือน จำกัด (สาขาคลองตัน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วาทินี บุญชะลักษี และยุพิน วรสิริอมร. (2538). ภาคเอกชนกับการให้บริการสุขภาพและการ ดูแล ผู้สูงอายุในประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง